ทำไมต้องใช้ Cacti ร่วมกับ Cisco IP SLA
เนื่องจากปกติแล้ว Cacti สามารถแสดงผลที่ได้จาก SNMP ในแบบทั่วไป เช่น Interface bandwidth แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า WAN ที่เชื่อมต่ออยู่กับ Interface นั้นมีค่า Round Trip Time (RTT) ที่ปกติหรือมีเสถียรภาพหรือไม่ หรือ Traffic ที่มีอยู่นั่นเกิดความล่าช้าจากการตอบสนองที่ผิดปกติของ Protocol อย่าง DNS หรือ HTTP หรือไม่ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้งานร่วมกับอุกรณ์ของ Cisco ที่มีการใช้งาน IP SLA มาใช้งานร่วมกัน เพื่อให้สามารถแสดงข้อมูลเชิงลึกได้มากขึ้นนั่นเอง และเนื่องจาก IP SLA ของ Cisco สามารถทำการอ่านค่าผ่าน SNMP ได้ดังนั้นการอ่านค่าและนำไปแสดงผลร่วมกับ Cacti จึงสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี
ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาว Network ส่วนใหญ่ที่พบ คือ ขาดข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงว่า ปัจจุบันระบบ Network ทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ อุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถรองรับการขยายตัวของกิจการในอนาคตหรือไม่ และในกรณีที่มีปัญหาการใช้งานระบบงานต่างๆนั้นมีสาเหตุมากจากอะไร โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีปัญหาอย่างใดเกิดขึ้นในระบบ ผู้ดูและระบบ Network ส่วนใหญ่มักจะแสดงผลการทำงานของอุปกรณ์แบบดิบๆ ทำให้ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและไม่เห็นภาพ และจากความไม่เข้าใจนี้เองทำให้มีการผลักภาระหรือโยนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นว่ามาจากระบบ Network เนื่องจากไม่มีคนเข้าใจข้อมูลที่ผู้ดูแลระบบนำเสนอไป
ในหัวข้อการอบรมนี้จะเสนอการใช้งาน Cacti เพื่อ Monitor อุปกรณ์ในลักษณะทั่วไปเพื่อแสดงสถานะของอุปกรณ์ เช่น CPU load, Memory usage และ Interface bandwidth และการนำ Cacti มาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ของ Cisco ไม่ว่าจะเป็น Router หรือ Switch layer 3 ที่มีการเปิดใช้งาน Feature IP SLA และนำผลที่ได้มาร่วมในการแสดงการทำงานของอุกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การตอบสนองของ Server การทำงานของ Internet หรือแม้กระทั่งค่า RTT ที่เกิดขึ้นใน WAN link ต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มากขึ้นและนำมาวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และสามารถนำข้อมูลไปนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
– Linux command เบื้องต้น
– สามารถ Config อุปกรณ์ Cisco เบื้องต้นได้
– มีความเข้าใจในเรื่องของ Network TCP/IP การทำงานในลักษณะ Client Server
เนื้อหา + LAB
วันแรก
1. ความสำคัญของการ Monitor ระบบ Network
2. Protocol SNMP และการใช้งานเบื้องต้น
3. แนะนำ Cacti + การติดตั้ง CactiEZ บน VMware
4. การใช้งาน Basic menu ของ Cacti
5. การใช้งาน Cacti กับ GNS3
6. การนำข้อมูลของ Cisco router มาแสดงผลบน Cacti
7. การใช้งาน Cacti Plugin – Weathermap สร้าง Network diagram และแสดง Traffic realtime
8. การใช้งาน Cacti Plugin – Nectar สร้าง Schedule report ผ่าน Email
9. การสร้าง Custom graph เพื่อแสดง CPU load ของ PaloAlto บน Cacti
วันที่สอง
1. แนะนำ Feature IP SLA ที่มีอยู่บนอุปกรณ์ของ Cisco
2. การ Configure Cisco IP LSA แบบต่างๆ เช่น HTTP, FTP, DNS, ICMP
3. การทำ Cisco IP LSA ไปใช้งานร่วมกับ Cacti
4. การนำข้อมูลที่ได้จาก Cisco IP SLA มาแสดงผลและวิเคราะห์การทำงาน
Case study
– การ Track link provider activity/Link quality/Up/Down แบบ Real time
– ตัวอย่าง Internet slow respond time ที่เกิดจาก ISP โดน Zero day attack
– การสร้าง Graph tree เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของ Private link ในกรณีที่ใช้ Provider หลายเจ้าเพื่อเปรียบเทียบเสถียรภาพของ Link
– การสร้าง Graph tree เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของ Web page ในและต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบ http/dns/tcp respond เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับ Internet
– ตัวอย่าง LAB พิเศษ การประยุกต์ใช้งาน Cisco IP SLA เพื่อตรวจสอบการตั้งค่าของ Firewall (กรณีที่เวลาเหลือพอ)
เพิ่มเนื้อหา : การใช้งาน VMnet ชนิดต่างๆบน VMware ที่ต้องนำมาใช้ในการทำ Lab เช่น Host only, Bridge, NAT เพื่อให้สามารถทำ Lab ได้อย่างถูกต้องและนำไปประยุกต์ใช้งานในการสร้าง Lab ขั้นสูงต่อไปได้
สิ่งที่แตกต่างระหว่างการเรียน Workshop Cacti+Cisco IP SLA กับการเรียน Cacti จากที่อื่น
- เราออกแบบ Lab ให้เหมาะสมกับคนที่ทำงานด้าน Network โดยเฉพาะ โดยผู้เรียนจะสามารถติดตั้ง Cacti ให้พร้อมใช้งานได้ตั้งแต่ Lab แรกที่ลงมือทำ ไม่ต้องรอติดตั้งทีละ Software package ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาทั้งวันสำหรับเรียนการใช้งานแบบทั่วไป
- เราสอนให้การทำ Customized graph ด้วยตัวเอง ดังนั้นเมื่อเจออุปกรณ์ที่ไม่มีอยู่ใน Template ตามปกติผู้เรียนก็สามารถสร้างกราฟขึ้นมาใช้งานเองได้ ซึ่งไม่มีในหลักสูตร Cacti ทั่วไปที่เปิดสอนในเมืองไทย
- เราสอนให้ทำการสร้าง Weathermap ใน Lab ด้วยเพื่อให้สามารถนำไปสร้างเป็น Dashboard เพื่อแสดงปริมาณของข้อมูลที่มีอยู่ใน Network แบบ Realtime ได้สะดวกและชัดเจนมากกว่าการดูกราฟทั่วไป ซึ่งหัวข้อนี้ก็ไม่มีในหลักสูตร Cacti ทั่วไปที่เปิดสอนในเมืองไทยเช่นเดียวกัน
- เราทำการแก้ไข Cisco IP SLAs template ด้วยตนเองเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในเรื่องการแสดงผลจากของเดิม และมีการเพิ่มเติมข้อมูลลงในกราฟเพื่อให้เข้าใจรายละเอียดที่แสดงผมในกราฟได้อย่างเต็มที่
- ผู้สอนมีประสบการณ์ในการทำ Customized graph ให้กับบริษัทอื่นๆ โดยสามารถนำขั้นตอนการ Customized graph ของ Cacti ไปประยุกต์ใช้งานกับโปรแกรมอื่น เช่น PRTG ได้เช่นเดียวกัน และเราจะสอนการทำ Customized graph ใน PRTG ด้วย เพื่อให้เห็นการนำไปประยุกต์ใช้งานจริงได้อย่างหลากหลายมากขึ้น
- Case study ที่ยกตัวอย่างมาให้เป็นการนำกราฟของ IP SLAs ที่ได้จากการนำไปวิเคราะห์และตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราห์ปัญหาที่ต้องต้องได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยยกตัวอย่างการนำกราฟไปใช้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน
- ผู้สอนเขียนเอกสารที่ใช้ในการสอนเองทั้งหมดดังนั้นจึงแน่ใจได้ว่าผู้เขียนมีความเข้าใจเนื้อหาสามารอธิบายถึงที่มาที่ไปของ Lab ในเอกสารได้อย่างครบถ้วน
- ทุก Lab ออกมามาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปทดลองต่อที่บ้านได้ เพื่อใช้ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญก่อนลงมือใช้จริง โดย Lab จะสร้างจากการใช้งานร่วมกันระหว่างโปรแกรม GNS3 และ VMware ดังนั้นจึงสามารถทบทวนการทำ Lab ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ทุกเวลาที่ต้องการ
- หลังเรียนจบเรามีกลุ่ม Facebook ของผู้เรียนทุกรุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันเรื่อยๆ รวมทั้งมี Video ให้ทำทวนสำหรับ Lab ที่ยากมากซึ่งผู้เรียนอาจจะทำตามไม่ทันในห้องเรียน ซึ่งจะสามารถทบทวนเนื้อหาได้ด้วยตนเองเมื่อลืมหรือไม่เข้าใจเนื้อหาได้
ระยะเวลาในการอบรม : ระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2559 เวลา 9:00น. – 17:00น.
จำนวนผู้เข้าอบรม : สูงสุด 10 ท่าน
ค่าอบรม : ท่านละ 6,500 บาท -> โอนเงินมัดจำ 3000 บาทล่วงหน้า ส่วนที่เหลือ จ่ายก่อนเริ่ม Workshop
สถานที่อบรม : Comscicafe ติดสถานีรถไฟฟ้า BTS แบริ่ง (มีที่จอดรถให้ผู้เข้าอบรมทุกท่าน)
หมายเหตุ :
- ผู้เข้าร่วม Workshop ต้องนำ Notebook มาเพื่อทำ Lab ทุกคน แนะนำให้ใช้ ์Spec ขั้นต่ำ CPU Core i3 (Support VT) และ RAM 4G และพื้นที่ว่างบน HDD 40GB ขึ้นไป เนื่องจากจะต้องใช้งาน VMware และ GNS3 ในการทำ Lab
- ขอให้ผู้มีความประสงค์เข้าร่วม Workshop ทดลองใช้งาน VMware บนเครื่องท่านก่อนมาอบรมว่ามารถมารถใช้งาน GuestOS 64 bit และการ Enable VT ที่ Bios ได้หรือไม่ก่อนเข้าร่วม Workshop ด้วย กรณีที่มีปัญหาดังกล่าวกรุณาแจ้งล่วงหน้า ผมจะทำการเตรียม GuestOS ให้ท่านใช้งานระหว่าง Workshop ไว้ล่วงหน้าครับ และกรณีที่ผมเตรียม GuestOS ให้ล่วงหน้านี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มครับ
- Notebook ที่พบปัญหาในการ Enable VT และมีปัญหาในการใช้งาน VMware ได้แก่ Lenovo X220, ZSUS บาง Series
- การสำรองที่นั่งจะมีผลเมื่อโอนเงินจองสำเร็จแล้วเท่านั้น ลำดับการจองจากแบบฟอร์ม Online เป็นลำดับในการติดต่อกลับเท่านั้น
รายชื่อบริษัทที่ไว้วางใจส่งพนักงานเข้าร่วม Workshop
บริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จำกัด
บริษัท ชุน บ็อก จำกัด
บริษัท ไอ-ทรี อินโนเวทีฟ เซอร์วิสเซส จำกัด
ตัวอย่างหนังสือ Lab guide ที่ใช้งานการอบรม
Comments ( 4 )
สนใจครับแต่อยากจะสอบถามผู้สอนว่าถ้าจะให้จัด onsite training + tunning cacti รับไม๊ครับ แล้วค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ พอดีว่าตอนนี้ผมใช้ Cacti ในการกับ Nagios ในการ Monitor อยู่ทั้ง Network และ server ครับแต่ข้อมูลที่ได้ดูจะไม่ค่อยตรงครับ ขอบคุณครับ
ขอทราบ scope of work แบบละเอียดเพื่อพิจารณาก่อนได้หรือไม่ครับ สามารถส่งรายได้ที่ email: info@virtualnetsystems.com ครับ
Haѵing read this I believed іt was гather informative. Ι ɑppreciate you spending sime tіme and effort to put thiѕ cntent t᧐gether. І оnce again fіnd mʏѕelf spending a lⲟt оf time Ƅoth reading and leaving comments. Bᥙt so wһat, it was stiill worth іt!
I will right away snattch your rss as I can not to find your e-mail subscription hyperlink or e-newsletter service. Do you've any? Kindly permit me rexognize so that I may subscribe. Thanks.