Pro-active monitor เพื่อการตรวจสอบระบบ Network แบบ realtime

ผมคิดว่าเพื่อนๆที่ทำงานตำแหน่ง Network admin หรือ System admin ในบริษัทหลายท่านอาจจะมีความรู้สึกว่า “User ของท่านหลายๆคนจะรู้ว่าจะรบบที่ทำงานอยู่นั้นมีปัญหาได้เร็วกว่าคนที่ทำงานด้าน Network หรือ System ที่ดูแลระบบด้านนั้นๆอยู่เสมอ” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้งานระบบ Database หรือการใช้งาน Internet จนทำให้เวลาที่ระบบมีปัญหาเรามาักจะใช้ “User เป็น Alert system ได้ดีกว่า” การเปิดหน้าจอโปรแกรม System monitor เพื่อดูสถานะของระบบไว้ซะอีก 🙂

ทำไม User จึงสามารถรับรู้ว่าระบบนั้นๆมีปัญหาได้เร็วกว่าเรา? ผู้ดูแลระบบหลายคนก็อาจจะคิดเช่นนั้น รวมทั้งผมเองในช่วงแรกๆ 🙂 แต่เมื่อมองถึงการใช้งานของ User ในด้านที่แตกต่างๆจากผู้ดูแลระบบก็จะพบว่าการที่ User นั้นรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้เร็วกว่าเราก็คือ “พฤติกรรมการใช้งาน” ที่มีมากกว่าเรานั่นเอง เช่น ฝ่ายบัญชีมักจะมีการเรียกข้อมูลหรือเพิ่มข้อมูลลงไปที่ Database บ่อยๆ หรือกำลังดู Youtube อยู่แล้วภาพกระตุก 😛 ในขณที่เราอาจจะพิมพ์ Word อยู่ก็เป็นด้ายยยยย!!! จากพฤติกรรมการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับระบบ Network นี้เองทำให้ User รับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ความแตกต่างที่ User สามารถรับรู้ได้นั้นจึงเป็นที่มาของการแจ้งความผิดปกติเข้ามาที่ผู้ดูแลระบบอย่างเราๆนั่นเอง

เมื่อเข้าใจถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นดังนั้นผู้ผลิตอุปกรณ์หลายรายจึงได้ทำการพัฒนา Feature บนอุปกรณ์ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ดูแลระบบมาไปใช้งานเพื่อนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบว่าทีอะไรเกิดขึ้นในระบบ Network บ้าง เช่น

  • Cisco – IP SLA
  • Juniper – RPM
  • HP – NQA
  • Huawei – NQA
  • Nokia (Alcatel-Lucent) – SAA

ซึ่ง Feature ที่ได้กล่าวถึงไว้ที่ด้านบนจะทำหน้าที่เป็นตัว “สร้าง Traffic” การใช้งานระบบ Network แทน User นั่งเอง โดยเรามาสามารถกำหนดให้อุปกรณ์ทำการตรวจสอบ(หรือใช้งานระบบ) Network เป็นช่างเวลา หรือตรวจสอบการใช้งานตลอดเวลาก็ได้ในกรณีที่เราต้องการนำมาใช้งานเป็นระบบ Real-time monitor

ประโยชน์ของการนำ Feature เช่น IP SLA มาใช้งานเป็นระบบ Real-time monitor คือ Network หรือ System admin จะได้ทราบถึงพฤติกรรมบนระบบที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งการใช้งานระบบ Network monitor ทั่วไปที่ให้แต่ผลการใช้งานแค่เรื่อง Traffic (Bandwidth) ที่เกิดขึ้นในระบบทั่วๆไปไม่สามารถให้คำตอบได้ เช่น

1.การตอบสนองการ Query ของ DNS server ว่ามีการตอบสนองการ Query ได้เร็วหรือช้าเป็นเวลาเท่าใด

2.การตอบสนองของ WAN ที่เชื่อมต่อระหว่างสาขานั้นมีค่า Round Trip Time(RTT) ใน WAN เส้นนั้นๆเป็นเวลาเท่าใด

3. การตอบสนองของ Service port บน Server ที่เปิดใช้งานบน Server เครื่องหนึ่งนั้นมีค่าเป็นเท่าใด

4. ค่าเวลาตอบสนองในการทดสอบการ Download ไฟล์จาก FTP server มีค่าเป็นเท่าใด

5. การใช้งาน Web site หนึ่งมีค่าตอบสนองของ TCP/DNS/HTTP เพื่อทำให้โหลดข้อมูลหน้านั้นๆขึ้นมาได้มีค่าเป็นเท่าไร

จากตัวอย่างที่กล่าวมาด้านบนทั้ง 5 แบบเป็นข้อมูลที่ผู้ดูและระบบส่วนใหญ่ต้องการทราบเพื่อนำไปตรวจสอบความผิดปกติหรือทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้งานเชิงลึกในระบบ Network ได้มากขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปปรับปรุงหรือตรวจสอบการใช้งานที่ผิดปกติได้นั่นเอง

ผมขอยกตัวอย่างสำหรับการนำใช้งานข้อมูลไปใช้งานในบางกรณีดังนี้

ระบบ Internet มีปัญหาในช่วงเวลา 9.30น. ทำให้ User ใช้งาน Internet ไม่ได้ ต่อมา Internet กลับมาใช้งานได้ในช่วงเวลา 9.35น. ในช่วงเวลาที่เหลื่อมกันนั้นเวลา 9.34น. Network admin ได้โทรไปที่ ISP ให้ทำการตรวจสอบ Internet ต้องรอสายจนเวลา 9.36น.จึงจะได้คุยกับ Engineer ของ ISP และ Engineer ได้ขอผล Ping และ Traceroute ไปเพื่อนำไปตรวจสอบ Network admin จึงได้ส่งผลไปให้แต่เป็นผลการ Ping และ Traceroute ที่เวลา 9.37น.

กรณีที่ 1 ไม่มี Proactive monitor: จากช่วงเวลาด้านบน เมื่อส่งผล Ping/Traceroute ไปให้ Engineer ของ ISP ตรวจสอบก็จะพบว่าไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้นในการเชื่อมต่อ Internet และเมื่อใช้โปรแกรม Monitor ทั่วไปดูจะพบว่ามี Bandwidth ที่ Interface จากมี Traffic เกิดขึ้นที่ Interface ที่เชื่อมต่อกับ Router ของ ISP ซึ่งอาจจะมีข้อมูลหากันตามปกติ เช่น Routing protocol หรือ L2 protocol อื่นๆ

กรณีที่ 2 มี Proactive monitor: เราจะมีผลการเชื่อต่อของ WAN-to-WAN, การตอบสนองของ Web site ปลายทาง หรือเวลาในการตอบสนองของ DNS server แล้วส่งเป็นกราฟไปให้ ISP ดูซึ่งจำทำให้เกิดความชัดเจนมากกว่าเพราะการทำ Real-time monitor จะต้องมีการเก็บข้อมูลไว้เป็น History ในระดับชั่วโมง วัน เดือน และปี ดังนั้นการที่เราเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะทำให้เรามองเห็นปัญหาได้ชัดเจนและรวดเร็วขึ้นได้เป็นอย่างมาก

จากการแนะนำ Feature pro-active monitor และตัวอย่างการนำไปใช้งานในบทความนี้หวังว่าจะทำให้เพื่อนๆหลานคนได้ Idea ในการทำ Pro-active monitor ไว้ใช้งานในบริษัทของตัวเองกันมากขึ้น เพื่อใช้ในการตรวจสอบและใช้ในการประกอบการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกันได้นะครับ 🙂

ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cisco IP SLA เพื่อใช้งานต่อได้ที่

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=likecisco&month=09-07-2015&group=3&gblog=50

http://www.cisco.com/c/en/us/td/docs/ios/12_4/ip_sla/configuration/guide/hsla_c/hsoverv.html

ปล. รูปตัวอย่างในบทความมากจาก Cacti โดยใช้ Template ที่ Modify ใหม่เองครับ เพื่อนๆที่สนใจสามารถหา Software อื่นๆมาใช้งานได้เองเช่นเดียวกันนะครับ 🙂

หมายเหตู: การทำ Pro-active monitor ไม่สามารถตอบคำถามทุกอย่างที่เกิดขึ้นได้ จะต้องมีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ Resource monitor อื่นๆด้วยเพื่อทำให้การวิเคราห์ปัญหาทำได้สะดวกและชัดเจนมากขึ้นด้วย การใช้เครื่องที่ดีตัวหนึ่ง อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นครับ

 

Leave a reply

Your email address will not be published.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.