สำหรับคนที่ทำงานในสาย Network ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตามแต่ ตั้งแต่ในหอพัก โรงเรียน บริษัทเล็กๆ หรือบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ สิ่งที่จะต้องเคยเจอและได้ยินน่าจะเป็นประโยคสุดคลาสสิคนี้ “Network มีปัญหาอะไร ทำไมใช้งานไม่ได้” หรือ “ทำไม Internet ช้าจังสงสัย Network มีปัญหาแน่ๆเลย” ทั้งสองประโยคนี้อาจจะเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ
แต่จะดีกว่าไหมที่เราสามารถหาสาเหตุที่แท้จริงและนำไปปรับปรุงหรือแก้ไขระบบ Network หรือพฤติกรรมการใช้งานที่มีผลกระทบต่อภาพรวมของการใช้งานระบบ Network ได้อย่างชัดเจน ตรงจุด และ “สามารถสื่อสารให้คนที่ไม่เข้าใจระบบ Network ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วยการใช้กราฟ” เช่น หัวหน้า, ผู้บริหาร หรืออธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมที่มีการเขียนใช้งานเองในบริษัทให้โปรแกรมเมอร์เข้าใจได้ หรือจะเป็นการปรับปรุงค่า Configuration ในระบบ Infrastructure ภายในบริษัทเองให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อทำให้การใช้งานระบบ Network มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยไม่มีการทิ้งคำถามมาที่คนทำระบบ Network เพียงคนเดียว
Wireshark for network troubleshooting เป็นหัวข้อ Workshop ที่คิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนที่เป็นผู้ดูและระบบ Network ให้มีความเข้าใจในการทำงานของพื้นฐานการทำงานของระบบ Network โดยใช้รูปแบบการทำงานของ Protocol TCP มาอธิบายให้เห็นว่าในระหว่างการทำงานในระบบ Network ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นกับส่วนใดในการสื่อสารแบบ TCP จะมีปัญหาอย่างไรเกิดขึ้น และจะนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะต่างๆต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรม
Workshop จะเน้นให้ลงมือทำโดยเนื้อหาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญคือ
ส่วนที่ 1
เริ่มต้นด้วยการปูพื้นให้ทุกคนเห็นภาพการทำงานของ Reference model แบบต่างๆและรูปแบบการนำไปใช้งานเมื่อใช้งานร่วมกับ Wireshark สำหรับ Lab จะเป็นการทดลองที่เน้นการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานกับ Wireshark ในรูปแบบต่างๆ
- เริ่มต้นด้วยการพิจารณา OSI, TCP model และเปรียบเทียบกับการแสดงผลของ Wireshark
- ตัวอย่างการทำงานของ Protocol TCP เพื่อใช้ในการอ้างอิงเมื่อเกิดปัญหาค่างๆ
- การทำงานของ Protocol ARP
- การเก็บข้อมูลในลักษณะต่างๆเพื่อนำมาเป็นข้อมูล Input ให้กับ Wireshark เช่น TCPdump, Remote capture
ส่วนที่ 2
เริ่มลงมือใช้งาน Wireshark เพื่อให้เห็นการทำงานของ Protocol ต่างๆแบบชัดเจน เช่น การเปิดการสื่อสารด้วย Packet SYN และวิเคราะห์การทำงานของระบบ Network โดยรวมได้แบบง่ายๆและรวดเร็ว ในส่วนนี้ทุกคนจะบอกได้อย่างเต็มปากว่า “ระบบ Network ไม่มีปัญหา” ระบบทำงานได้เร็วปกติ” โดยมีหลักฐานที่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน
- เมนูใช้งานของโปรแกรม Wireshark, Coloring rules
- รูปแบบ Input แบบต่างๆเพื่อใช้เป็น Filter string ของ Wireshark เพื่อใช้ในการกรองข้อมูลที่ต้องการนำมาวิเคราะห์ด้วย Wireshark ต่อไป
- การใช้งาน Follow TCP stream
- การใช้งาน TCP stream graph เพื่อพิจารณาและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นใน Network
ส่วนที่ 3
ส่วนสุดท้ายของ Workshop เน้นการใช้งานเพื่อนำไปวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยสามารถหา Packet ที่คาดว่าจะเป็นต้นเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ “การหาจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์ปัญหาอย่าง Network ช้า” โดยการพิจารณา Packet ที่สนใจได้อย่างรวดเร็ว และปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์การทำงาน Application ที่มีปัญหาด้วยคนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำงานต่อไป
- การสร้าง Profile และการเพิ่ม Column เพื่อให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ปัญหาในแบบต่างๆ
- การ Export HTTP object
- การใช้งาน IO graph
- การใช้งาน Expert info
- วิเคราะห์การทำงานที่ผิดปกติของ Application
Workshop ทั้ง 3 ส่วนจะใช้เวลาทั้งหมด 2 วันเพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจการนำโปรแกรม Wireshark ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาทั้งหมดได้ผ่านกระบวนการคิดทดสอบและลงมือทำผ่านโปรแกรมอย่าง EVE-NG จากผู้สอนก่อนที่จะลงมือทำเอกสารทุกขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนจะสามารถกลับไปทำการทดลองซ้ำต่อที่บ้านหรือบริษัทต่อไปได้ ทำให้มีความสะดวกในการทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนผ่านไป โดยสามารถทำการทดลองซ้ำตามเอกสารเพื่อให้เกิดความชำนาญจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างสะดวกตามความต้องการต่อไป
สำหรับเนื้อหาการใช้งานโปรแกรม Wireshark ที่ผู้สอนได้มีการเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจได้ทำการอ่านและศึกษาได้ฟรีมีตามหัวข้อดังต่อไปนี้
- ใช้ Wireshark เพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติในการทำงานของ Application
- การนำค่า Delay ที่เกิดขึ้นในระบบ Network มาแสดงผลเป็นกราฟ
- ร่วมร่างไฟล์ให้กลับมาจากแพ็คเก็ตที่ได้จาก Wireshark ^^
- TCP zerowindow กับปัญหาที่เกิดขึ้นใน network
- การหาค่า TCP Delay และนำมาแสดงบน Column ใน WireShark
จากตัวอย่างบทความที่แนะนำมาข้างต้นผู้ที่สนใจ Workshop สามารถใช้อ่านและพิจารณาเนื้อหาเบื้อต้นก่อนสมัครเรียน Workshop ได้ทันทีครับ
ค่าใช้จ่ายในการเรียน 5,000 บาท
สิ่งที่จะได้รับในการเรียน
- เอกสารประกอบการเรียนที่มีเนื้อหาและขั้นตอนเป็นภาษาไทยในรูปแบบ PDF
- ตัวอย่าง Packet file ประกอบการทดลองต่างๆ
- เอกสารอ้างอิงประกอบการสอน
- โปรแกรมที่เกี่ยวข้องในการทำ Workshop
- VM Image file สำหรับประกอบการทำ Lab เพื่อให้สามารถทำการทดลองและนำไปใช้ทบทวนที่บ้านได้
หมายเหตุุ: เนื่องจากมีการใช้งาน EVE-NG ในการทดลอง ดังนั้นผู้เรียนจึงควรมี Notebook ที่มี Spec ขั้นต่ำดังนี้ เพื่อให้การทดลองได้ประโยชน์สูงสุด
1. CPU Intel core i3
2. Free space on HDD 80G (SSD for best performance)
3. RAM 8G
ระยะเวลาในการอบรม : จะแจ้งให้ทราบผ่านหน้าเพจอีกครั้ง
จำนวนผู้เข้าอบรม : สูงสุด 12 ท่าน
ค่าอบรม : ท่านละ 5,000 บาท
สถานที่อบรม : Comscicafe ติดสถานีรถไฟฟ้า BTS แบริ่ง (มีที่จอดรถให้ผู้เข้าอบรมทุกท่าน)
แผนที่ของ ComSci cafe ใน Google maps คลิกดู ที่นี่
กรณีที่มีความสนใจ Workshop นี้สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Email: info@virtualnetsystems.com หรือ Dowload รายละเอียดเพื่อนำเสนอหน่วยงานได้ ที่นี่
Comments ( 7 )
จะมีวันธรรมดาบ้างมั้ยครับ อิอิ
สนใจ In-house มั้ยครับ อิอิ
[…] ที่นี่ นะครับ […]
[…] ที่นี่ นะครับ […]
[…] ที่นี่ นะครับ […]
[…] ที่นี่ นะครับ […]
[…] ที่นี่ นะครับ […]