กลับมาอีกครั้งหลังจากหายไปหลายอาทิตย์ ^^
รอบนี้กลับมาลองใช้ Wireshark ทำงานในส่วนของ Network forensics กันดูบ้างว่ามันจะเป็นเช่นไร……….
เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าวันนี้เราจะขอเสนอฟังก์ชั่น “Export Objects” ซึ่งฟังก์ชั่นนี้จะทำหน้าที่ในการ “สกัด” สิ่งที่อยู่ในรูปแบบของแพ็คเก็ตที่ดูแล้ว “ไม่เข้าใจ” ให้ออกมาเป็นในรูปแบบของไฟล์ หรือ URL เนื่องจากวันนี้เราจะเน้นให้ทำการ “สกัด” เนื้อหาที่อยู่ในรูปแบบของ HTTP โปรโตคอลออกมานั่นเอง
โดยปกติแล้วเมื่อเปิด Wireshark ขึ้นมาและทำการจับข้อมูลที่วิ่งผ่านเข้ามาในเครื่องของเรา สิ่งที่เห็นจะมีรูปแบบในรูปด้านล่างนี้ คือ Source-Destination IP Address, Port, Packet information ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าข้อมูลที่อยู่ภายในนั้นคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น URL อะไร หรือรูปที่เปิดขึ้นมาอยู่ที่ URL ไหน?
ยกตัวอย่างการใช้งานในรูปแบบของ Network forensic ในหัวข้อนี้จะลองทำการ “ประกอบร่าง” แพ็คเก็ตที่ได้มาจาก Wireshark ให้กลายเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์และย้อนกลับไปได้ว่าไฟล์ที่เปิดขึ้นมาอยู่ที่ URL ใดและลองโหลดไฟล์ที่ได้จากการ “ประกอบร่าง” ลงมาในเครื่องของเราเพื่อทำการตรวจสอบต่อไปได้นั่นเอง
ก่อนที่จะใช้ฟังก์ชั่นนี้ได้อย่างสมบูรณ์เราจะต้องมาการเตรียมการให้เรียบร้อยก่อนตามขั้นตอนดังนี้
- Protocol IPv4: Enable Reassemble fragmented IPv4 datagrams
- Protocol TCP: Enable Validate the TCP checksum if possible
- Protocol TCP: Enable Allow subdissector to reassemble TCP streams
- Protocol SSL: Enable Reassemble SSL records spanning multiple TCP segments
- Protocol SSL: Enable Reassemble SSL Aplication Data spanning multiple SSL records
โดยการตั้งค่าทั้งหมดนี้ให้เข้าไปทำที่เมนู Edit Preference… ตามรูปด้านล่างนี้
เมื่อทำการตั้งค่าทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เข้าไปที่เมนู File -> Export Objects -> HTTP ก็จะมีหน้าต่างเปิดขึ้นมาใหม่คือ “Wireshark: HTTP object list” โดยในหน้านี้จะแสดงรายละเอียดของสิ่งที่ได้จากการ “ประกอบร่าง” เช่น Hostname ซึ่งก็คือ เวบไซท์ที่เราได้เข้าไป Content Type คือชนิดของไฟล์ที่ได้จากการเข้าไปที่เวบไซท์นั้น Size คือขนาดของไฟล์ที่โหลดขึ้นมา และสุดท้าย Filename คือชื่อของไฟล์ที่โหลดมานั่นเอง
ในตัวอย่างนี้ผมจะทำการเซฟไฟล์ชื่อ “UNL%20diagram.png” ลงมาที่เครื่องโดยการเลือกที่ไฟล์ที่ต้องการและกด “Save As” จากนั้นให้ทำการเลือกตำแหน่งที่ต้องการเซฟลงในเครื่องและทำการตั้งชื่อตามที่ต้องการ หลังจากนั้นให้ทำการเปิดไฟล์ที่ได้จากการเซฟเมื่อสักครู่นี้ขึ้นมา สำหรับผมจะได้ผลจากการเปิดไฟล์ขึ้นมาตามรูปด้านล่างนี้ครับ
สำหรับตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานในส่วนของ Network forensics คือการนำไปใช้หาข้อมูลการดาวน์โหลดไฟล์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากทั้งในส่วนของภายในและภายนอกบริษัท หรือในส่วนของตัวอย่างจะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์จาก Internet มาซึ่งสามารถระบุได้ถึง Hostname และชื่อไฟล์ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดีในระดับนึงเลยทีเดียว
หมายเหตุ: การ “สกัด” เนื้อของไฟล์ที่ต้องการจำเป็นที่จะต้องมีปริมาณของแพ็คเก็ตในปริมาณที่มากพอและครบถ้วนเพื่อที่จะได้ไฟล์หรือเนื้อหาตามที่ต้องการได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน
หวังว่าคงจะได้แนวคิดในการนำไปประยุกต์ใช้งานกันต่อแล้วนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะคร้าบบบบบ _/|\_
ถ้าอ่านแล้วถูกใจอยากมาลองเรียนเพิ่มเติมกับเราตั้งแต่พื้นฐานจนทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปร่างได้เหมือนในบทความและยังสามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้ ลองมาเรียนกับเราได้โดยดูรายละเอียดได้ ที่นี่ นะครับ ^^
Comment ( 1 )
[…] […]