อาทิตย์นี้กลับมาในเรื่องของ WireShark อีกรอบครับ
วันนี้เสนอเรื่อง TCP zerowindow กับปัญหาที่เกิดขึ้นใน network ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องของ TCP window size ที่เคยเห็นมาจะเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลในปริมาณที่มากในระดับหนึ่งและข้อมูลที่ต้องการจะนำมาใช้มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอไม่ขาดตอน ยกตัวอย่าง เช่น Video streaming หรือ Youtube ก็ได้
TCP window size คืออะไร
จากรูปด้านบนจะเห็นได้ว่าก่อนที่มะมีการส่ง Packet หากันระหว่า Client และ Server จะต้องมีการกำหนดขนาดของ Window size กันก่อน โดยจะเป็นการตกลงกันว่าจ Client จะรอรับข้อมูลเป็นปริมาณเท่าไรจึงจะทำการส่ง Packet ACK ให้กับ Server หนึ่งครั้ง การทำงานแบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ Protocol TCP ได้เนื่องจากไม่ต้องทำการส่ง Packet ACK กลับไปทุกครั้งเมื่อได้รับ Packet เข้ามานั่นเอง
สำหรับอาการเมื่อเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกี่ยวกับ TCP zerowindow คือโปรแกรมจะค้าง เนื่องจากจะมีมีการส่ง Packet request ออกไปขอข้อมูลใหม่เข้ามา เมื่อไม่รับข้อมูลเข้ามา Client จะเกิดอาการค้างอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่ง Windos size จะกลับมาเป็นปรกติ จึงทำให้เกิดอาการ Video สะดุดนั่งเอง 🙂
คราวนี้เราจะมาลองสร้างกราฟเพื่อแสดงค่า TCP zerowindow เพื่อให้เข้าใจการเกิดปัญหาได้ดียิ่งขึ้น ก่อนอื่นก็เปิดโปรแกรมขึ้นมาก่อนตามรูปนี้
ขั้นตอนต่อไปเราจะมาทำการสร้างกราฟโดยใช้เมนู TCP stream graph กันก่อน โดยให้ไปที่เมนู Statistics > TCP StreamGraph > Window Scaling Graph โดยเมื่อ WireShark ทำการสร้างกราฟขึ้นมาจะได้หน้าตามแบบในรูปด้านล่างนี้
จากรูปในส่วนที่มีลูกศรสีแดงชี้ไว้อยู่คือตำแหน่งที่มีขนาดของ TCP windows เป็น 0 ดังนั้นจากรูปก็จะพอสรุปได้ว่า ในช่วงเวลาที่ทำการ Capture packet อยู่นั้นจะเกิดอาการ Video กระตุกอยู่ที่ 4 ครั้ง และการแสดงผลจะเป็นไปในลักษณะทิศทางเดียว คือ จาก Source IP ไปที่ Destination IP โดยสังเกตุได้จากกรอบสีแดงในรูปครับ แต่จะเห็นได้ว่าการใช้ TCP Stream Graph นั้นจะแสดงค่าได้ไม่สวยงามและไม่สามารถทำการขยายหรือปรับแต่งกราฟให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเลย ดังนั้นเราจะใช้เครื่องมือในอีกเมนูนึงคือ IO graph มาเพื่อช่วยให้การแสดงผลมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
การใช้ IO graph ให้ไปที่เมนู Statistics > IO Graph ตามรูป
จากนั้นให้ทำการใส่ Filter “tcp.window_size” ลงในช่องที่ 2 และก่อนหน้าที่จะกดปุ่มกราฟให้ทำการปรับค่าเพิ่มอีก 2 ตัวเพื่อให้การแสดงผลมีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น คือ ให้แสดงช่วงเวลาที่เราได้ทำการ Capture packet มาแสดงผลในกราฟ โดยให้ทำการเลือก “View as time of day” ตรงที่ลูกศรสีฟ้าชี้อยู่ ส่วนต่อมาให้ทำการปรับ Scale ของกราฟให้เป็นแบบ “Logarithm” โดยประโยชน์ของการใช้ Scale แบบ Logarithm นี้คือ ในกรณีที่ค่าที่ต้องการแสดงผลมีค่าที่ต่างกันมากอาจจะทำให้การแสดงผลขาดรายละเอียดได้ ในกรณีนี้ให้ทำการเลือกการแสดงผลในแกน Y โดยให้ทำการเปลี่ยนค่าตามในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง จากจั้นให้ทำการกดปุ่ม Graph 1 เพื่อเอาค่าข้อมูลของ Graph 1 ออกไปก่อน หลังจากนั้นทำการกดปุ่ม Graph 2 เพื่อทำการแสดงผลของ TCP window scale ที่เกิดขึ้นในในช่วงเวลาที่เราได้ทำการ Capture packet มาวิเคราะห์ โดยจะได้ผลตามรูปด้านล่างนี้
โดยในส่วนที่มำลูกศรชี้ลงให้คือส่วนที่เกิด TCP zerowindow และเมื่อสังเกตุในช่องสีฟ้าจะเห็นว่ามีเวลาขึ้นมาด้วยทำให้การวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาที่เกิดปัญหาทำได้สะดวกขึ้นด้วยนั่นเอง
หวังว่าจะได้ Idea เพื่อนะไปลองวิเคราะห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ้างนะครับ 🙂
ถ้าอ่านแล้วถูกใจอยากมาลองเรียนเพิ่มเติมกับเราตั้งแต่พื้นฐานจนทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นรูปร่างได้เหมือนในบทความและยังสามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้ ลองมาเรียนกับเราได้โดยดูรายละเอียดได้ ที่นี่ นะครับ ^^
Comments ( 2 )
[…] TCP zerowindow กับปัญหาที่เกิดขึ้นใน network […]
Thiѕ web site definitely has all the information and facts I wanted cоncerning tis subject and diԀn't know who to asқ.