Monthly archives "ตุลาคม 2016"

แสดงค่า Round Trip Time ของ Network ในรูปแบบของกราฟเพื่อแสดงเวลาที่ Packet ใช้เวลาใน Network

วันนี้เป็นเรื่องการแสดงค่า Round Trip Time (RTT) หรือค่าเวลาที่ Packet ใช้เวลาในการเดินทางใน Network จากต้นทางไปยังปลายทางและกลับมาที่เครื่องต้นทางอีกครั้งหนึ่ง “ซึ่งค่าที่ได้นี้จะเป็นค่าอ้างอิงของเวลาที่ Packet ใช้เวลาในการเดินทางระหว่างอุปกรณ์ต้นทางและอุปกรณ์ปลายทาง คู่หนึ่งเท่านั้น” ไม่ใช่ค่าเวลาที่สามารถใช้อ้างอิงเวลาที่ใช้ในระบบ Network ของอุปกรณ์ทุกตัวได้

ตัวอย่างการหาค่า RTT อาจจะเป็นการใช้งานคำสั่ง Ping ไปที่ปลายทางต่างๆ ดังนี้

จากรูปด้านบนทั้งสองรูปเราก็จะเห็นว่าค่า “time” ที่อยู่ในกรอบสีแดงทั้งสองค่ามีค่าไม่เท่ากันซึ่งค่าที่เปลี่ยนไปนี้จะมีค่าไม่ท่ากันในทุกๆปลายทาง ซึ่งค่านี้จะเปลี่ยนไปตามอุปกรณ์ต้นทางและอุปกรณ์ปลายทางคู่หนึ่งเท่านั้น ดังที่อธิบายไปแล้วก่อนหน้านี้

สำหรับ Diagram ที่ใช้อธิบายการทำงานของ RTT จะมีรูปแบบดังรูปด้านล่างนี้

หรือถ้าจะมองในรูปแบบของคู่การสื่อสารในรูปแบบการ Request data แบบ peer-to-peer ก็จะได้รูปแบบเป็นตาม Diagram ตามรูปด้านล่างนี้

คราวนี้กลับมาที่หัวข้อของเรากันดีกว่า คราวนี้เราจะนำค่า RTT พวกนี้มาแสดงให้เป็นกราฟเพื่อนำกราฟที่ได้มาใช้ในการดูค่า RTT ของแต่ละ peer ได้อย่างไรบ้าง

ก่อนอื่นก็ให้เราเปิด Packet ที่เรามีอยู่ขึ้นมาด้วยโปรแกรม Wireshark ก่อนจากนั้นก็ให้ทำการเลือกเพ็คเก็ตที่เราต้องการหาค่า RTT จากในรูปตัวอย่างผมจะเลือก Packet ที่มี Source IP address = 172.16.4.115 และมี Destination IP address = 192.168.1.2 ซึ่งการทำแบบนี้ก็คือการที่เราเลือกอุปกรณ์ต้นทางและปลายทางนั่นเอง

ต่อมาให้ไปที่เมนู Statistics -> TCP StreamGraph -> Round Trip Time Graph ตามรูปด้านล่างนี้

จากนั้นก็รอสักพักนึงเพื่อให้โปรแกรม Wireshark ทำการคำนวนค่า RTT ของอุปกรณ์ที่มีค่า IP address = 172.16.4.115 ไปที่อุปกรณ์ปลายทางที่มีค่า IP address = 192.168.1.2 ตามกราฟด้านล่างนี้

กรณีที่เราต้องการแสดงค่า RTT ของคู่การสื่อสารอื่นๆก็สามารถทำได้โดยการเลือก Packet ใหม่โดยอาจจะเปลี่ยน Source IP address หรือ Destination IP address ไปตามที่เราต้องการ จากรูปตัวอย่างด้านล่างผมจะเปลี่ยน Destination IP address = 192.168.1.3

หลังจากที่ได้กราฟที่มีค่า RTT แล้วต่อมาเราจะสามารถสรุปอะไรได้บ้าง ผมขอยกตัวอย่างการสรุปข้อมูลที่ได้จากกราฟดังนี้ครับ

  • ค่า RTT ของ Source IP address = 172.16.4.115 ไปยัง Destination IP address = 192.168.1.2 มีค่าเฉลี่ยประมาณ >0.001 วินาที โดยพิจารณาจากความหนาแน่นของ Packet ที่มีค่าเกือบเป็นเส้นตรงที่ค่านี้เกือบตลอดเวลา
  • ค่า RTT ของ Source IP address = 172.16.4.115 ไปยัง Destination IP address = 192.168.1.3 มีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.0003 – 0.004 วินาที โดยพิจารณาจากความหนาแน่นของ Packet
  • จากกราฟทั้งสองจะเห็นว่า Source IP address = 172.16.4.115 มีการสื่อสารไปที่ Destination IP address = 192.168.1.2 มากกว่าเครื่องอื่นและมีค่า RTT ที่ค่อนข้างคงที่ซึ่งหมายความว่าการสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีจากกราฟที่เห็นคือ Packet มีความต่อเนื่องกันมากจนกลายเป็นเส้นต่อเนื่อง
  • จากกราฟที่สองถึงแม้ว่าค่า RTT จะมีค่าไม่คงที่เมื่อเทียบกับค่า RTT ของกราฟที่หนึ่งแต่ค่า RTT โดยเฉลี่ยยังมีค่าที่ใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากกราฟที่หนึ่ง
  • ในมุมมองของการสื่อสารระหว่าง Network 172.16.4.0/24 ไปที่ Network 192.168.1.0/24 จะสามารถสรุปได้ว่าค่า RTT ที่ได้จากการสื่อสารระหว่าง Network มีประสิทธิภาพไม่มีปัญหาในเรื่องการ Delay เกิดขึ้นจน User รู้สึกได้