Monthly archives "สิงหาคม 2016"

การสร้าง Initial configuration ของอุปกรณ์ใน UnetLab

กลับมาเขียนบทความลง Blog อีกครั้งหลังจากมีกิจกรรมใหม่ๆอีกครั้งครับ

รอบนี้เป็นบทความที่ค้างไว้จากที่ได้แจ้งไว้ที่หน้า FaceBook page และเป็นเรื่องที่หลายๆคนที่มีเรียน UnetLab แล้วยังมึนๆอยู่ นั่นคือเรื่องของการทำ Initial configure (Exported CFG) ของอุปกรณ์นั่นเอง

ก่อนอื่นก็ต้องขอเกริ่นกันก่อนว่า Initial configure ที่ว่านี้คืออะไรกันก่อน ลองนึกดูว่าในการทำ Lab ของแต่ละคนจะต้องทำอะไรก่อนเป็นขั้นตอนแรกหลังจากเปิดอุปกรณ์อย่าง Router ขึ้นมา? สิ่งที่หลายๆคนจะทำก็คือการตั้งค่า Hostname และการกำหนด IP address ให้กับ Interface ต่างๆของอุปกรณ์ที่ได้ออกแบบมาไว้แล้วจาก Diagram ที่เราวาดไว้ในกระดาษหรือโปรแกรมก่อนหน้านี้ (ไม่รวมการต่อสายต่างๆนะ) ซึ่งเมื่อทำขั้นตอนนี้เสร็จแล้วส่วนมากเราจะทำการ Save configuration ชุดนี้ไว้ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำการทดลอง Lab กันต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้นี้ผมจะขอเรียกว่าการทำ Initial configure ของ UnetLab นั้นเอง

คำถามต่อมาทำไมเราจะต้องมาทำ Initial configure ด้วยล่ะ? ในเมื่อเวลาที่เราทำ Lab ไปแล้วเราก็ลงมือทำต่อไปเรื่อยๆได้อยู่แล้ว ไม่เห็นว่าจะมีความจำเป็นอะไรเลย? ลองย้อนกลับไปที่การทำ Lab ด้วยการใช้อุปกรณ์จริงกันก่อนละกัน ผมจะมีคำถามว่าถ้าเรา Configure อุปกรณ์ผิดไปแล้วหาจุดที่เราทำผิดไม่ได้และทำให้ต้องเริ่ม Configure อุปกรณ์ใหม่ตั้งแต่ต้นอีกครั้งหรือไม่? น่าจะเคยกันมาบ้างสำหรับคนที่ต้องการทำ Lab บ่อยๆ กรณีนี้หลายๆคนก็จะบอกว่าทำผิดก็อย่าเพิ่งไป Save configure ที่ไว้ไว้สิ พอเปิดปิดอุปกรณ์ใหม่มันก็มาเริ่มจุดที่ทำ Save ไว้ วิธีการแบบนี้ก็เป็นที่มาของการใช้งาน Initial configure แบบ Classic แบบนึงครับ แต่ที่มันเหนือกว่านั้นคือใน UnetLab สามารถทำการดึงเอา Initial configure ที่เก็บไว้นำมา Apply กลับเป็น Initial configure ที่ต้องการหลังจากที่เราได้ Save configuration ด้วย Command เช่น Write men หรือ Commit ทับ Initial configure ที่ใช้อยู่ไปแล้วไม่ว่าจะมีการ Save ทับไปแล้วกี่รอบด้วยการกดเมนูเท่านั้น ไม่ต้องทำการ Dump configuration ใหม่อีกรอบ

ประโยชน์ที่ผู้ใช้งานจะได้รับอย่างเต็มที่อีกส่วนหนึ่งก็คือการสร้าง Lab เพื่อฝึกแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ฝึกทำ Lab สำหรับการสอบ TSHOOT หรือการเตรียมสอบ CCIE ที่มีหัวข้อ Troubleshooting นั้นเอง การแก้ปัญหาหรือ Ticket ในลักษณะนี้มักจะมีการทดลองแก้ Configuration ของอุปกรณ์อยู่เสมอๆ และบ่อยครั้งที่จะทำให้ค่าที่โจทย์ให้มีมีปัญหาหนักมากกว่าเดิม!!! เนื่องจากเราแก้ปัญหาผิดจุดนั้นเอง การนำ Initial configuration มาใช้งานในลักษณะนี้จึงมีประโยชน์อย่างมากนั้นเอง แต่ UnetLab ยังมีการทำงานทีเกี่ยวกับการจัดการ Configuration รูปแบบอื่นอีกซึ่งจะมีตัวอย่างการใช้งานด้านท้ายบทความครับ

เท่านี้ก็คงจะพอเห็นความสำคัญของการนำ Initial configure มาใช้งานกันบ้างแล้วนะครับ ในส่วนนี้เราจะมาเริ่มลงมือสร้าง Initial configure ใน UnetLab กันครับ

ก่อนที่จะลงมือสร้าง Initial configure นั้นเราจะต้องสร้าง Lab ใน UnetLab ขึ้นมาให้เรียบร้อยก่อน โดยในตัวอย่างผมจะใช้ Lab ที่ได้สร้างไว้แล้วในหัวข้อของ Service Provider (ยังไม่ได้เขียนต่อเลย ^^”)

จากรูปตัวอย่างถ้าใครสังเกตุจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ CE ทั้งสองฝั่งเมื่อเทียบกับตัวอย่างใน Blog เนื่องจากมีแผนที่จะเพิ่มรูปแบบ Lab นั่นเองครับ ^^

ขั้นตอนต่อมาให้ทำการเปิดอุปกรณ์ขึ้นมาทั้งหมดและ Configure อุปกรณ์โดยใช้ Command ที่อยู่ในหัวข้อ “Service Provider Lab Series Part 1” มาสร้างเป็น Initial configure ครับ เมื่อใส่ Command ให้กับอุปกรณ์ที่ต้องการหมดแล้วต้อง Save configuration ให้อุปกรณ์ทุกตัวด้วย Command “wr” หรือ “commit” เพื่อ Save configuration ที่เราทำไว้

ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนพิเศษสำหรับการสร้าง Initial configure แล้ว ให้เลือกที่เมนู More actions -> Export all CFGs เพื่อให้ UnetLab ทำ Export configuration ที่เรา Save ไว้บนอุปกรณ์ออกมาเก็บไว้

จากนั้นให้ลองตรวจสอบการทำงานของ UnetLab ว่าถูกต้องหรือไม่โดยไปที่เมนู Startup-configures ถ้าเราทำถูกต้องจะต้องมี
รูป Drive A ที่มีเครื่องหมายถูกบนมุมขวาล่างขึ้นมาที่หลังรายชื่ออุปกรณ์ทุกตัวที่ได้ Save configuration ไว้ เพียงเท่านี้เราก็จะมี Initial configure ของอุปกรณ์เก็บไว้ใช้งานแล้ว

มาถึงตอนนี้หลายๆคนจะมีคำถามขึ้นมาคือ แล้วอะเอาไปใช้งานยังไง? สำหรับการใช้งานอะแบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆดังนี้

  • เมื่อต้องการนำ Initial configure มาใช้งาน -> กด Set all startup-cfg to exported -> Wipe all nodes
  • เมื่อต้องการให้อุปกรณ์กลับไปที่สถานะที่ไม่มีการตั้งค่าให้อุปกรณ์ใดๆเลย(No configuration) -> กด Set all startup-cfg to none -> Wipe all nodes
  • เมื่อไม่ต้องการลบ Initial configuration ออกไป คือไม่ต้องการให้มีการเก็บ Initial configuration ไว้ใช้งานอีกต่อไป -> กด Delete all startup-cfg -> Wipe all nodes

ลองมาสรุปการทำงานของการสร้าง Initial configuration ใน UnetLab กันด้วยรูปก็น่าจะได้ประมาณนี้ครับ

สำหรับบทความนี้สามารถโหลดบทความในรูปแบบ PDF ได้จาก ที่นี่ ครับ

สำหรับ Video เสริมความเข้าใจดูได้จากด้านล่างนี้เลยครับ