Monthly archives "กุมภาพันธ์ 2015"

การใช้งาน RIP และ Redistribute Static Route to RIP บน PaloAlto Firewall

หายไปทำ LAB กับเอกสารไปพักใหญ่ วันนี้กลับมาทำอะไรสนุกๆกันดีกว่าครับ ^^

สำหรับวันนี้จะขอนำเสนอ การใช้งาน RIP และ Redistribute Static Route to RIP บน PaloAlto Firewall (ชาวบ้านเขาไม่ชอบทำกันอีกแล้ว 😛 )

สำหรับ Diagram ก็จะมีตามนี้ครับ

สำหรับคราวนี้ผมจะใช้ UnetLab ในการทดสอบการทำงานของ LAB นี้กันครับ เนื่องจากตอนนี้เห่อของใหม่ ^^

ตามขั้นตอนของ UnetLab ก็ต้องไปสร้าง LAB ใหม่กันก่อนตามรูป

แล้วก็จัดเอาอุปกรณ์มาวางให้ได้ตาม Diagram ใน UnetLab ของผมก็จะได้ตามนี้ครับ

สำหรับก้อนเมฆ Management คือ pnet0 ที่เป็น Bridge เชื่อมต่อออกมาที่ Notebook ของผมเองเพื่อให้สามารถจัดการ PaloAlto ผ่าน Web-GUI ได้นั่นเอง สำหรับท่านที่อยากรู้ว่าจะใช้งาน pnet ได้ยังไงขอให้ไปติดตามจากบทความเก่า ที่นี่ ครับ สำหรับรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆที่ผมนำมาวางก็จะมีดังนี้

1. PaloAlto Firewall

2. IOU-L2 เป็น Core Switch

3. IOU-L3 เป็น Internet และ ฺBranch Router 1-2

เมื่อนำอุปกรณ์วางวางจนครบแล้วก็ให้ทำการต่อ Network เข้ากับอุปกรณ์ทั้งหมดตาม Diagram ที่ต้องการ จากนั้นให้ทำการ Start อุปกรณ์ทั้งหมดเพื่อเริ่มต้นการ Config ครับ

ผมจะเริ่มต้นด้วยการ Config Management Interface ของ PaloAlto ก่อนเพื่อให้สามารถใช้งานในขั้นตอนต่อไปได้สะดวกขึ้น เริ่มด้วยการเปิด PaloAlto Console ขึ้นมากจาก VNC และใส่ IP Address:Port เข้าไปตามรูป

เสร็จแล้วก็จะสามารถ Login เข้าไปที่ PaloAlto ได้โดยใช้ Default User:Password คือ admin:admin จากนั้นผมจะแก้ไข Management IP Address โดยใช้ Command “set deviceconfig system ip-add 192.168.114.12 netmask 255.255.255.0 default-gateway 192.168.114.2” และทำการ Commit ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็จะสามารถใช้ Web-GUI ได้แล้วตามรูปด้านล่างนี้ครับ

จากนั้นก็ทำการกำหนด IP Address ให้ Interface ของ PaloAlto ตามที่ได้กำหนดไว้ใน Diagram จะได้ผลตามนี้

ต่อไปก็ไปทำการ Config IOU โดยใช้ Command ดังนี้ครับ

— IOU Internet —
host Internet
int e0/0
ip add 172.17.1.1 255.255.255.252
no sh
int lo 0
ip add 8.8.8.8 255.255.255.0
int lo 1
ip add 8.8.4.4 255.255.255.0
ip route 172.16.0.0 255.255.0.0 172.17.1.2

— IOU-L2 (CoreSwitch) —
host IOU-L2
ip routing
int e0/0
no sw
ip add 172.17.1.6 255.255.255.252
no sh
int e0/1
no sw
ip add 172.16.1.1 255.255.255.252
no sh
int e0/2
no sw
ip add 172.16.1.5 255.255.255.252
no sh
router rip
no au
ver 2
passive def
no pass e0/0
no pass e0/1
no pass e0/2
net 172.17.1.4
net 172.16.1.0

— IOU-L3 Branch_1 —
host Branch_1
int e0/0
ip add 172.16.1.2 255.255.255.252
no sh
int lo 0
ip add 10.1.1.1 255.255.255.0
router rip
no au
ver 2
pass def
no pass e0/0
no pass lo 0
net 10.1.1.0
net 172.16.1.0

— IOU-L3 Branch_2 —
host Branch_2
int e0/0
ip add 172.16.1.6 255.255.255.252
no sh
int lo 0
ip add 10.2.1.1 255.255.255.0
router rip
no au
ver 2
pass def
no pass e0/0
no pass lo 0
net 10.2.1.0
net 172.16.1.4

จากนั้นกลับไป Enable Routing RIP และ Static Default Route ที่ใช้ออก Internet ที่ PaloAlto Firewall กันต่อ โดยเริ่มที่ Static Default Route กันก่อนโดยไปเพิ่ม Routing ที่ Virtual Router ตามรูปนี้

ต่อมาก็มา Enable RIP Routing ตามรูปนี้

หลังจากทำขั้นตอนนี้และ Commit ผ่านแล้วที่ Router Branch 1 และ 2 จะต้องเห็น Routing 172.17.1.4/30, 172.16.1.0/30 และ Network ของสาขาทั้งสองใน Routing Table ที่ Router ทั้งสองตัวแล้วให้ลองทดสอบโดยการใช้ Command “show ip route” ที่ Router ทั้งสองตัวจะได้ผลตามนี้

Router Branch 1

Router Branch 2

เช่นกันที่ CoreSwitch ก็จะต้องมี Routing ชุดเดียวกัน ต่อมาให้ทำการเช็คว่า Routing ชุดเดียวกันนี้ถูกส่งมาที่ Firewall หรือเปล่าโดยการเช็คที่ Virtual Router Default บน PaloAlto Firewall จะได้ผมตามนี้ โดยในกรอบสีแดงคือ RIP Routing ที่ได้รับเข้ามาจาก IOU ทุกตัว

แต่จากที่ Router Branch ทั้งสองตัวจะเห็นว่ายังไม่สามารถที่จะออกไปที่ Internet ได้ ดังนั้นเราจะต้องทำการ Redistribute Static Default Route ที่อยู่บน PaloAlto Firewall ออกมาที่ RIP Routing Protocol เพื่อที่จะให้ Router Branch ทั้งสองตัวสามารถที่จะออกไปที่ Internet ได้ โดยจะต้องมีขั้นตอนเพิ่มเติมดังนี้

สร้าง Redistribute Profile ตามรูป

จากนั้นกลับไปที่ Process RIP ให้ทำการเลือก Export Rule และทำการเลือก Option Reject Default Route ออก และ ให้เลือก Option Allow Redistribute Default Route เพิ่ม 

เมื่อทำการ Commit แล้วให้ทำการเช็คที่ CoreSwitch และ Branch Router ทั้งสองตัวว่าได้รับ Candidate Default Route เข้ามาที่ Routing Table หรือไม่ที่ถ้ายังไม่ได้รับให้ทำการตรวจสอบขั้นตอนต่างๆที่ PaloAlto Firewall ให้อะเอียกอีกครั้ง ถ้าไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นจะได้ Routing Table ที่อุปกรณ์ต่างๆดังนี้

IOU-L2 (CoreSwitch)

Branch 1

Branch 2

จากนั้นให้ลอง Ping Internet host “8.8.8.8” และ “8.8.4.4” จาก Branch Router ทั้งสองตัว จะต้องได้ผลตามรูป

Branch 1

Branch 2

จากนั้นให้ทำการทดสอบ Traceroute จาก Branch Router จะได้ผลตามรูป

จบแล้วครับสำหรับบทความนี้การใช้งาน RIP และ Redistribute Static Route to RIP บน PaloAlto Firewall

ถ้านึกอะไรออกอีกจะกลับมาทำบทความใหม่อีกรอบครับ 🙂

สรุปข้อดีและข้อเสียของ GNS3 IOU-Web และ UnetLab

วันนี้เริ่มกลับมาเขียนอะไรลง Blog เป็นครั้งแรกหลังจากเข้าไปใหม่มาครับ ที่เขียนเรื่องนี้ก็เพราะว่าเท่าที่ได้ลองคุยกับหลายๆคนยังเลือกใช้โปรแกรมกันไม่ถูกจุดประสงค์ที่ตัวเองต้องการเท่าไร พอใช้ไปแล้วก็เกิดข้อสงสัยว่าทำไมมันไม่ดีเหมือนที่คิดไว้ เท่าที่ลองมาสรุปดูแล้วผมพบว่า ส่วนหนึ่งเกิดมาจากความไม่แน่ในในตัวเองและยังไม่รู้ว่า Emulator ที่เลือกใช้มันเหมาะกับอะไรบ้างและมันเหมาะกับเราหรือเปล่า วันนี้เลยขอมาสรุปให้เป็นเรื่องเป็นราวสักหน่อยครับ

เริ่มต้นกันด้วยโปรแกรม GNS3

สำหรับแฟนคลับหรือคนที่ใช้งานอุปกรณ์ของ Cisco เป็นหลักตั้งแต่ระดับ CCNA ปลายๆหรือ CCNP คงไม่มีใครไม่รู้จักโปรแกรมนี้ ผมอาจจะเรียกได้ว่า GNS3 (สร้างโดย Stephen Guppy) เป็นโปรแกรมที่คนที่ทำงานในสายของ Cisco ต้องมีติดไว้ในเครื่องแทบทุกคน เพราะอาจจะเรียกได้ว่าเป็นโปรแกรมจำลองการทำงานของอุปกรณ์ Cisco ที่น่าจะสมบูรณ์ที่สุดแล้วเนื่องจากการทำงานของ GNS3 จะใช้ IOS จริงมาใช้งาน ที่จริงความสามารถนี้ไม่ใช่ของ GNS3 เลยถ้าจะขอบคุณจะต้องทำการขอบคุณเจ้า Dynamips(สร้างโดย Christophe Fillot) แทนถึงจะถูกตัวกว่าเพราะ GNS3 ในช่วงแรกเป็นการเปิดตัวในลักษณะของ Dynamips GUI Frontend

ในแง่ของการเตรียมสอบ CCIE R&S สาวกของค่าย Cisco ที่เตรียมตัวสอบ CCIE R&S เทใจไปให้ GNS3 เต็มๆ เพราะเท่ากับว่าสามารถที่จะเตรียมสอบได้โดยแทบที่จะไม่ต้องใช้อุปกรณ์จริงกันอีกแล้ว กรณีที่ต้องความมั่นใจแบบ 100% ก็ยังจะนำ Virtual Router ที่ต้องการนำมาต่อกับ Switch ที่ต้องการภายนอกได้ เช่น 3550, 3560, 3750 เพราะ GNS3 ไม่ได้มีส่วนที่รองรับการทำงานของ Switch แบบเต็มตัว สิ่งที่ดีที่สุดใน GSN3 ที่จะใช้ทดสอบการทำงานของ Switch ได้คือการใช้งาน Module NM-16ESW ใส่ลงไปใน Cisco 3725 หรือ 3745 ซึ่งยังไงก็ไม่ได้คุณสมบัติของ Switch จริง 100% (ขาดไปอีกเยอะเลยล่ะ) ซึ่งตรงนี้ถ้าใครมีเงินพอที่จะเอาไปลงกับที่ Switch Layer3 แล้วก็น่าจะเรียกได้ว่ามีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการเตรียมสอบ CCIE LAB สำหรับ CCIE R&S V4 กันเลยทีเดียว (LAB เท่านั้นนะครับไม่ใช้ส่วนของ Troubleshooting หุหุ) แต่สำหรับการเตรียมสอบ CCIE R&S V5 คุณต้องน้ำตาตกแน่นอนเพราะจะนวนของ Router+Switch ที่ใช้ใน V5 นั้นเยอะมากจนบางคนเห็นแล้วท้อคือประมาณ 40 ตัว ถ้าทำการปรับค่า IdlePC ไม่ได้แค่ V4 ยังยากเลย ^^”

ในแง่ของการนำมาใช้เพื่อเรียนรู้การทำงานของอุปกรณ์ Cisco พูดได้ 100% ว่าถ้าไม่มีส่วนของ Switch มาเกี่ยวข้อง GNS3 สามารถรองรับการทำงานได้ 100% เรื่องนี้ได้รับการรับรองโดย Authorize Cisco Training partner ไปแล้วเรียบร้อยเพราะเขาก็ใช้กันอยู่ ไม่ได้มีปัญหากันแต่อย่างใด ส่วนในการนำมาใช้ POC แบบเบื้องต้นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Performance test ตรงนี้ GNS3 ก็ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมเช่นกัน ยกตัวอย่างที่พบเจอบ่อยๆคือลูกค้าต้องการใช้งานอุปกรณ์ของ Cisco และต้องการใช้งาน Feature ที่ใช้งานกันไม่บ่อยนักหรืออยากเห็นผลแบบคร่าวๆก่อนการตัดสินใจ

ในส่วนที่ผ่านมาจะเน้นในส่วนของ Core feature ที่เป็น Cisco เป็นหลัก แต่ในส่วนนี้จะขอพูดถึง Feature ใหม่ๆที่เพิ่มเข้ามาในส่วนของ GNS3 version 1.x ซึ่งเป็นตัวหลักที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จุดเด่นของ Version นี้หลักๆเลยก็จะเป็นเรื่องของค่า IdlePC ที่มีการใช้งานที่ง่ายขึ้นมากๆๆๆๆ แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการทำงานดังกล่าวยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่อีกหนึ่งตัวคือ CPU Limiter ซึ่งคอยแอบทำงานเพื่อไม่ให้ CPU ทำงานหนักผิดปกติ ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการหน่วงจากต้นเหตุที่ CPU Limiter โดนเปิดขึ้นมาใช้งานก็ยังต้องมีการหาค่า IdlePC ให้เหมาะสมอยู่เหมือนเดิม ต่อด้วยเรื่องของอุปกรณ์ที่ว่า GNS3 นั้นไม่ได้มีแต่ Cisco นั้นก็จริงของเขาส่วนที่เพิ่มเข้ามาก็ตั้งแต่ Cisco IOU, Juniper (Olive) หรือพวก Software management ต่างๆที่เขาเอามาลงกันบ่อยๆ สิ่งต่างๆที่ GNS3 เอามาลงในช่วงหลังเป็นเพียงแค่ใช้ API หรือ Feature UDP Tunnel แล้วเพิ่มความง่ายเข้าไปด้วยการ Control ทุกสิ่งที่เพิ่มเข้าไปจาก GNS3 เดิมเท่านั้น ยกตัวอย่างพวก vIOS หรือ JunOS หรือแม้กระทั่ง ASA เองจะมาจาก Software อื่นเช่น Qemu หรือ VirtualBox ซึ่งหมายความว่าถึงแม้จะไม่มี GNS3 เราก็มีทางที่จะเอาอุปรณ์นั้นมาใช้งานได้อยู่ดี (ขอให้เข้าใจการทำงานก่อน) ส่วนเหตุผลที่ GNS3 ตอนนี้ยังใช้งานร่วมกับ VMware Player/Worksation ได้ก็เพราะ VMware ไม่รองรับ Feature UDP Tunnel แต่ไม่เป็นไรเขาไป Request feature นี้กับ VMware แล้วนะ ^^ จากความเห็นส่วนตัว GNS3 ตอนนี้จะเน้นว่าเป็น Community ที่ใหญ่ส่วนการรองรับอุปกรณ์เพิ่มเติมโดยเนื้อแท้แล้วจะเป็นการใช้งานในแนว Virtual Appliance หรือการ Port จากของเดิมมาเป็น Virtual Appliance ทั้งหมด โดยเน้นการควบคุมจาก GNS3 ที่เดียว ส่วนในการใช้งานจริงก็ยังมีการเรียก VirtualBox หรือ Qemu ขึ้นมาใช้งานร่วมด้วยแต่บางคนอาจจะไม่รู้ (ไม่ทุกคนนะ) ส่วนที่ลำบากอีกส่วนนึงก็คือการใช้งาน IOU เนื่องจากต้นกำเนิดของ IOU เองก็ไม่ได้อยู่บน Windows ทำให้หนีไม่พ้นที่จะต้องเปิด IOU-VM ใน VirtualBox ควบคู่ไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นว่าถ้าจะใช้งาน Feature ของ Switch ยังไงก็ต้องมี IOU-VM ทำให้ค่อนข้างงงและใช้งานยากขึ้นไปอีกนิด (ผิดหลักการของเขาเองในเรื่องของความง่าย) แต่ก็แลกมาด้วย Feature switch ของ IOU มาซึ่งถ้าใครต้องการ Feature นี้ก็นับว่าคุ้มอยู่พอสมควร แต่ถ้าจะให้ดีควรจะมี Spec เครื่องที่สูงสักหน่อยในการใช้งาน GNS3 V1.x กรณีที่ใช้งาน Feature แบบเต็มๆ

ตัวที่ถัดมาคือ IOU-Web

ตัวนี้ไม่ต้องพูดถึงกรณีเอาไปใช้งานด้านอื่นๆเลยนอกจากการเรียนรู้และเตรียมสอบกับค่าย Cisco ค่ายเดียวเท่านั้น อุปกรณ์อื่นอย่าได้มาแส่ (แต่มันมีวิธีการอยู่) IOU-Web เติบโตขึ้นมาจากการใช้เป็นเครื่องมือในการเตรียมสอบ CCIE R&S อย่างไม่ต้องสงสัยและยังมีการเอาไปใช้งานใน Track SP เพิ่มเติมโดยต้องใช้งานร่วมกับ IOS-XRv ใน VirtualBox หรือ VMware เพิ่มเติม แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาขอให้อยากทำ คนที่เตรียมสอบทุกคนพร้อมที่จะทำแบบไม่ต้องสงสัย IOU ชื่อนี้มากจาก IOS on Unix ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมัน โดยจะใช้งานอยู่บนเครื่อง Unix ตระกูล SUN Spark ภายใน Cisco เองก่อนหลังจากนั้นก็มีการหลุดออกมาสู่โลกภายนอกขึ้น (ตั้งใจหรือเปล่าไม่แน่ใจ) ก็เลยมีเทพทั้งหลายทำการ Port IOU ออกมาให้เป็น Version ของ Linux เพื่อให้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นจนกลายเป็น IOL หรือ IOS on Linux ซึ่งอาจจะไม่ค่อยคุ้นกันเท่าไรส่วนมากจะเรียก IOU กันหมด ข้อดีของ IOU คงไม่ต้องพูดถึงมากเพราะมันเป็นเหมือน Software package ตัวหนึ่งบน Linux เท่านั้น ดังนั้นการใช้งาน CPU ก็จะไม่ได้หนักหน่วงเหมือนกับ Dynamips ข้อดีต่อมาคือ Feature ของ Cisco switch จะมมีอยู่บน IOU แทบทั้งหมดเพราะ IOU ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานในคอร์สของ Cisco เองทั้งแบบ Online LAB และยังถูกนำไปใช้งานในส่วนของ CCIE R&S V4 Troubleshooting section ด้วย และยังเป็นอุปกรณ์หลักในการใช้งาน CCIE R&S V5 ด้วย ดังนั้นถ้าใครต้องการสอบ CCIE ยังไงก็หนีไม่พ้นเจ้า IOU-Web ความเจ๋งของมันยังมีการรับประกันโดยผู้ให้บริการเช่า Rack เพื่อเตรียมสอบด้วย โดยในสมัย V4 ผู้ให้บริการเช่า Rack จะนำอุปกรณ์จริงมาให้ใช้งานโดยมีการเชื่อมต่อตาม Topology ไว้ให้ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนเป็น V5 ผู้ให้บริการรายเดิมก็ยังต้องเปลี่ยนมาใช้ IOU-Web แทน แบบนี้คงไม่ต้องสงสัยในความสามารถในการทำงานของมัน

ถ้าพูดถึง IOU-Web แล้วก็คงต้องพูดถึงผู้อยู่เบื้องหลังจาก IOU-Web นี้ด้วยครับ โดยเจ้า Tools ตัวนี้เกิดจากตา Andrea Dainese เจ้าของเวบ http://www.routereflector.com/ ครับถ้าใครเคยใช้งานเจ้า IOU แบบที่เป็น CLI ขนานแท้ก็อาจจะได้ความรู้สึกคล้ายๆกัน Dynamips ในช่วงแรกเลยครับ(ผมลองมาแล้ว) ความยากในการจัดการทั้งเรื่องของ License การกำหนด Interface การกำหนดค่า Memory การ Export configuration นี่กว่าจะเข้าใจก็เสียเวลาไปพอสมควร ทำให้ในช่วงแรกๆก็จะใช้งานอยู่ในกลุ่มไม่เยอะและแพร่หลายเท่าไร จนกระทั่งตา Andrea นี่ล่ะที่ได้ทำ IOU-Web ออกมาคราวนี้อะไรมันก็ง่ายการเตรียม LAB ต่างๆก็จะได้เรื่องความง่ายขึ้นมาอีกเยอะ ส่วนที่เด็ดที่สุดคือการใส่ Network diagram ที่เราต้องการเข้าไปใน IOU-Web แล้วสามารถเอาเมาส์ไปจิ้มที่รูปของอุปกรณ์แล้วทำการ Configure ได้ทันที ตรงนี้ทำให้เกิดการเอาไปใช้ทำ LAB เพื่อเตรียมสอบ CCIE กันเลยทีเดียว เพราะว่าจะได้บรรยากาศใกล้เคียงกับการสอบในห้อง LAB มากที่สุด

สำหรับงานที่เหมาะกับ IOU-Web น่าจะเหมาะกับงานด้านการศึกษามากที่สุดครับ ล่าสุดก็ได้ไปคุยกับพี่ท่านนึงพูดคุยว่าอยากจะเอา IOU-Web นี่ล่ะไปให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ใช้งานกันใน LAB ของมหาวิทยาลัย เพราะการที่ IOU-Web มี GUI สำหรับการจัดการ Router แบบง่ายๆทั้งในส่วนของการ Sanpshot, Restore configuration ดังนั้นเมื่อทำการ Configure ผิดพลาดก็สามารถย้อนกลับไปที่ Snapshot เพื่อแก้ไขกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

ส่วนนี้ผมขอเขียนแยกออกมานิดนึงเพราะยังมีหลายๆท่านมองว่า IOU-Web เป็น CCIE Dump ขอให้ทำการคิดใหม่นิดนึง จุดกำเนิดของ IOU เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้เป็นหลักไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็น Dump การที่ IOU-Web ถูกมองว่ามันกลายเป็น Dump เพราะมันถูกสร้างให้มีความง่ายและมีกลุ่มคนนำไปใช้ในการเตรียมสอบอย่างแพร่หลายในเวลาอันรวดเร็วมากๆ อีกทั้งหน้าตาของการใช้งานยังสามารถแก้ไขให้เหมือนกับในห้องสอบได้อย่างมากทำให้ถูกมองให้เป็นแบบนั้น

ตัวสุดท้ายน้องใหม่ UnetLab (Unified Networking Lab)

ตัวนี้ในความคิดของผมเองน่าจะเป็นตัวที่มีความครบเครื่องมากที่สุดเลย สำหรับผู้ให้กำเนิด UnetLab ก็คือตา Andrea Dainese เจ้าเดียวกันกับ IOU-Web ครับ แต่ UnetLab ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ใช้พื้นฐานของ IOU-Web ดังนั้นหน้าตาและวิธีการใช้งานก็เลยต่างกับแบบหนังคนละม้วน โดย UnetLab ถูกสร้างขึ้นบน Ubuntu ส่วน IOU-Web ถูกสร้างขึ้นจาก Fedora การออกแบบ UnetLab ของตา Andrea จะใช้ Virtual Machine เป็นหลักและจะมีการออก Release ใหม่ออกมาเรื่อยถ้ามีคนคอยช่วยหา Bug ที่ต้องการเขาก็จะออก Release ใหม่ค่อนข้างเร็วอาจจะแค่ 2-3 วัน (เท่าที่ไปช่วยหานะ) หรือเป็นอาทิตย์ หลักการของ UnetLab คือต้องการทำ LAB ที่รองรับอุปกรณ์ได้หลากหลายบน GUI เดียว (ซึ่งเป็นแนวเดียวกันกับ GNS3 ตอนแรกเลย) โดย Core component ของ UnetLab จะมีอยู่ 3 ตัวคือ 1. Dynamips 2. IOU 3. Qemu ทั้งสามส่วนจะเป็น Backend ให้กับ UnetLab ซึ่งเป็น Web frontend การเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆลงไปใน UnetLab ยังคงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนอยู่พอสมควร แต่เมื่อผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้วการใช้งานก็แค่เปิด VM และนำอุปกรณ์มาวางใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้งานได้ก็เยอะมากจนใช้ได้ไม่หมดไล่ไปตั้งแต่ Cisco router/firewall/IOU, Juniper router/firewall, ARISTA switch, F5 BigIP หรือแม้กระทั่ง PaloAlto firewall

จุดเด่นของ UnetLab คือการที่เป็น VM และใช้ Web interface ทำให้ไม่ต้องทำการติดตั้งลงในเครื่อง และเมื่อต้องการทำ LAB ก็แค่เปิด VM ขึ้นมาและใช้ Web browser ในการสร้าง LAB ได้ทันที และการรองรับอุปกรณ์ที่เรียกได้ว่าแทบจะทุกค่ายหลัก ครอบคลุมอุปกรณ์ทั้งหมดที่มีอยู่ใน GNS3 และ IOU ทุกตัวและใช้เพียงแค่ VM เดียวในการจัดการอุปกรณ์จริงๆ ข้อด้อยของ UnetLab ตอนนี้ที่ชัดเจนคือ Bug ยังคงมีออกมาให้เห็นเรื่อยๆและยังไม่มีเอกสารเป็นทางการออกมาทำให้มีแต่คนที่สนใจอยากลองของใหม่เข้าไปใช้กันเท่านั้น

ยกตัวอย่างความง่ายของการใช้งาน UnetLab เปรียบเทียบกับ GNS3 กรณีนี้ขอยกตัวอย่างของ PaloAlto เป็นกรณีศึกษานะครับ ให้ลองดูวิธีการใช้งาน PaloAlto ร่วมกับ GNS3 ที่ Link นี้ https://community.gns3.com/docs/DOC-2114 แล้วเทียบกับการใช้งานบน UnetLab แล้วจะพบว่ามันง่ายแบบคนละเรื่องกันเลยทีเดียวครับแค่เลือกอุปกรณ์มาวางแล้ว Start  ^^

สรุปกันหน่อย

  • ถ้าต้องการใช้ Router Cisco เพียงอย่างเดียว -> ใช้ได้ทั้ง 3 แบบ (GNS3, IOU-Web, UnetLab)
  • ถ้าอยากใช้ IOU แต่ Configure IOU ไม่เป็น -> GNS3
  • ถ้าต้องการฝึกแบบทำซ้ำบ่อยๆและเตรียมสอบ Cert Cisco -> IOU-Web
  • อยากทำ Topology เองแบบง่ายๆแต่มีอุปกณ์เยอะๆและไม่ได้ใช้แต่ Cisco ไม่ถนัด Linux -> GNS3
  • อยากทำ Topology เองแบบง่ายๆแต่มีอุปกณ์เยอะๆและไม่ได้ใช้แต่ Cisco ถนัด Linux -> UnetLab
  • ไม่ได้ใช้ Cisco แต่อยากทำ LAB เพื่อ POC ลูกค้า -> GNS3, UnetLab

หวังว่าคงจะได้ Idea การเลือกใช้งานกันไปบ้างนะครับ

ปล. ถ้ามี Virtual Appliance อยู่จะไม่ไช้โปรแกรมทั้งหมดข้างบนนี้ก็ได้ ใช้แค่ VirtualBox หรือ VMware workstation ก็พอเพียงแต่เวลาที่ต้องการนำอุปกรณ์มาต่อกันจะสับสนเล็กน้อยครับ