ทำไมต้องใช้ Cacti ร่วมกับ Cisco IP SLA
เนื่องจากปกติแล้ว Cacti สามารถแสดงผลที่ได้จาก SNMP ในแบบทั่วไป เช่น Interface bandwidth แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า WAN ที่เชื่อมต่ออยู่กับ Interface นั้นมีค่า Round Trip Time (RTT) ที่ปกติหรือมีเสถียรภาพหรือไม่ หรือ Traffic ที่มีอยู่นั่นเกิดความล่าช้าจากการตอบสนองที่ผิดปกติของ Protocol อย่าง DNS หรือ HTTP หรือไม่ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้งานร่วมกับอุกรณ์ของ Cisco ที่มีการใช้งาน IP SLA มาใช้งานร่วมกัน เพื่อให้สามารถแสดงข้อมูลเชิงลึกได้มากขึ้นนั่นเอง และเนื่องจาก IP SLA ของ Cisco สามารถทำการอ่านค่าผ่าน SNMP ได้ดังนั้นการอ่านค่าและนำไปแสดงผลร่วมกับ Cacti จึงสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี
ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาว Network ส่วนใหญ่ที่พบ คือ ขาดข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงว่า ปัจจุบันระบบ Network ทำงานได้เป็นปกติหรือไม่ อุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถรองรับการขยายตัวของกิจการในอนาคตหรือไม่ และในกรณีที่มีปัญหาการใช้งานระบบงานต่างๆนั้นมีสาเหตุมากจากอะไร โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีปัญหาอย่างใดเกิดขึ้นในระบบ ผู้ดูและระบบ Network ส่วนใหญ่มักจะแสดงผลการทำงานของอุปกรณ์แบบดิบๆ ทำให้ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและไม่เห็นภาพ และจากความไม่เข้าใจนี้เองทำให้มีการผลักภาระหรือโยนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นว่ามาจากระบบ Network เนื่องจากไม่มีคนเข้าใจข้อมูลที่ผู้ดูแลระบบนำเสนอไป
ในหัวข้อการอบรมนี้จะเสนอการใช้งาน Cacti เพื่อ Monitor อุปกรณ์ในลักษณะทั่วไปเพื่อแสดงสถานะของอุปกรณ์ เช่น CPU load, Memory usage และ Interface bandwidth และการนำ Cacti มาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ของ Cisco ไม่ว่าจะเป็น Router หรือ Switch layer 3 ที่มีการเปิดใช้งาน Feature IP SLA และนำผลที่ได้มาร่วมในการแสดงการทำงานของอุกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การตอบสนองของ Server การทำงานของ Internet หรือแม้กระทั่งค่า RTT ที่เกิดขึ้นใน WAN link ต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มากขึ้นและนำมาวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และสามารถนำข้อมูลไปนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
– Linux command เบื้องต้น
– สามารถ Config อุปกรณ์ Cisco เบื้องต้นได้
– มีความเข้าใจในเรื่องของ Network TCP/IP การทำงานในลักษณะ Client Server
เนื้อหา + LAB
วันแรก
1. ความสำคัญของการ Monitor ระบบ Network
2. Protocol SNMP และการใช้งานเบื้องต้น
3. แนะนำ Cacti + การติดตั้ง CactiEZ บน VMware
4. การใช้งาน Basic menu ของ Cacti
5. การใช้งาน Cacti กับ GNS3
6. การนำข้อมูลของ Cisco router มาแสดงผลบน Cacti
7. การใช้งาน Cacti Plugin – Weathermap สร้าง Network diagram และแสดง Traffic realtime
8. การใช้งาน Cacti Plugin – Nectar สร้าง Schedule report ผ่าน Email
9. การสร้าง Custom graph เพื่อแสดง CPU load ของ PaloAlto บน Cacti
วันที่สอง
1. แนะนำ Feature IP SLA ที่มีอยู่บนอุปกรณ์ของ Cisco
2. การ Configure Cisco IP LSA แบบต่างๆ เช่น HTTP, FTP, DNS, ICMP
3. การทำ Cisco IP LSA ไปใช้งานร่วมกับ Cacti
4. การนำข้อมูลที่ได้จาก Cisco IP SLA มาแสดงผลและวิเคราะห์การทำงาน
Case study
– การ Track link provider activity/Link quality/Up/Down แบบ Real time
– ตัวอย่าง Internet slow respond time ที่เกิดจาก ISP โดน Zero day attack
– การสร้าง Graph tree เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของ Private link ในกรณีที่ใช้ Provider หลายเจ้าเพื่อเปรียบเทียบเสถียรภาพของ Link
– การสร้าง Graph tree เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของ Web page ในและต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบ http/dns/tcp respond เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวกับ Internet
– ตัวอย่าง LAB พิเศษ การประยุกต์ใช้งาน Cisco IP SLA เพื่อตรวจสอบการตั้งค่าของ Firewall (กรณีที่เวลาเหลือพอ)
เพิ่มเนื้อหา : การใช้งาน VMnet ชนิดต่างๆบน VMware ที่ต้องนำมาใช้ในการทำ Lab เช่น Host only, Bridge, NAT เพื่อให้สามารถทำ Lab ได้อย่างถูกต้องและนำไปประยุกต์ใช้งานในการสร้าง Lab ขั้นสูงต่อไปได้
สิ่งที่แตกต่างระหว่างการเรียน Workshop Cacti+Cisco IP SLA กับการเรียน Cacti จากที่อื่น
ระยะเวลาในการอบรม : ระหว่างวันที่ 1-2 ตุลาคม 2559 เวลา 9:00น. – 17:00น.
จำนวนผู้เข้าอบรม : สูงสุด 10 ท่าน
ค่าอบรม : ท่านละ 6,500 บาท -> โอนเงินมัดจำ 3000 บาทล่วงหน้า ส่วนที่เหลือ จ่ายก่อนเริ่ม Workshop
สถานที่อบรม : Comscicafe ติดสถานีรถไฟฟ้า BTS แบริ่ง (มีที่จอดรถให้ผู้เข้าอบรมทุกท่าน)
หมายเหตุ :
รายชื่อบริษัทที่ไว้วางใจส่งพนักงานเข้าร่วม Workshop
บริษัท ซีดีจี ซิสเต็มส์ จำกัด
บริษัท ชุน บ็อก จำกัด
บริษัท ไอ-ทรี อินโนเวทีฟ เซอร์วิสเซส จำกัด
ตัวอย่างหนังสือ Lab guide ที่ใช้งานการอบรม
ความเห็นล่าสุด