Monthly archives "ธันวาคม 2014"

ปีใหม่จะมีเรื่องใหม่อะไรบ้าง ^^

ในปีนี้ผมได้เริ่มทำ Blog เกี่ยวกับการทำ Lab ไปบ้างแล้วโดยเริ่มจากการแนะนำ Tools เพื่อนำมาใช้ในการทำ Lab แบบไม่มีค่าใช่จ่ายไปบ้างแล้ว เช่น GNS3 กับ UnetLab

เป้าหมายในปีหน้าก็คงจะทำ Content ออกมาในรูปแบบของ Lab ให้มากขึ้นทั้งแบบที่คิดเอง โดยใช้สิ่งที่ได้มีการแนะนำไปแล้ว ทั้ง GNS3 IOU-Web และ UnetLab โดยจะพยายามทำการกระจายเนื้อหาออกเป็นหมวดหมู่ประมาณนี้ครับ

  • Datacenter : UCS, Nexus
  • Service provider : IOS-XE, IOS-XR
  • Routing and Switching : IOS (เนื้อหาน่าจะมีเยอะที่สุด)
  • Storage : EMC, NetApp (ตั้งเป้าไว้ก่อนขอดูว่าไหวหรือเปล่า ^^)
  • Unix, Linux : ส่วนนี้จะเป็นการนำ Tools มาใช้งานซะมากกว่านะครับ

ที่สำคัญในปีนี้ผมจะเริ่มทำการแปล Public content ของ gns3vault.com เป็นภาษาไทยให้ด้วยครับ โดยอาจจะมีการเพิ่มเนื้อหาเข้าไปเล็กน้อยหรือตามสมควรครับ และงานแปล Public content จาก gns3vault.com ก็ได้รับอนุญาติอย่างเป็นทางการจาก René Molenaar เจ้าของ gns3vault.com มาแล้วด้วยดังนั้นจึงไม่มีปัญหาในการนำ Content มาแปลแน่นอน ^^

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆมีความสุขกับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ขอให้มีแต่ความสุข การงานเจริญก้าวหน้า ร่ำรวย สุขภาพดีกันถ้วนหน้านะคร้าบบบ

UnetLab กับการใช้งาน Bridge interfaces (pnet)

หลายคนอาจจะสงสัยว่า Bridge interface(s) คืออะไร?? หลักการง่ายๆก็ขอให้นึกถึง Cloud ใน GNS3 ถ้ายังงงอยู่ให้ลองย้อนไปดู Video ใบ้ที่ผมทำไว้ก่อนหน้านี้ครับ ก็จะรู้ว่าเจ้า Bridge interface(s) จะทำใหน้าที่ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่อยู่ใน Virtual system ให้ออกมาที่โลกของ Physical ได้ตามตัวอย่างใน Video ที่ผ่านมาผมจะใช้ในการจัดการ ASA ผ่าน ASDM

แต่คราวนี้จะมาถึงคิวของ UnetLab บ้างแล้วครับ

ความสำคัญของ Bridge interface(s) หรือ pnet ใน UnetLab คือจะทำให้เราสามารถใช้งาน Web interface หรือ Web-UI ของอุปกรณ์ได้ แทนที่จะต้องทำการจัดการผ่าน CLI เพียงอย่างเดียว กรณีตัวอย่างที่ผมจะนำเสนอคือ ใช้งาน pnet กับ F5 เพื่อให้เราสามารถจัดการ F5 ผ่าน Web interface ได้นั่นเอง

เริ่มกันเลยครับ โดยส่วนตัวแล้วผมไม่คิดที่จะทำการ Configure F5 ด้วย CLI แน่ๆเพราะมันน่าจะเป็นนรกชัดๆสำหรับผม 🙂

ที่จริงแล้ว UnetLab ได้ทำการสร้าง pnet ไว้ให้แล้ว ตั้งแต่ตอนที่เรา Import UnetLab เข้ามาใช้งานจากไฟล์ OVA เราก็สามารถใช้งานเจ้า pnet ได้ทันทีเลยแต่ชื่อของมันใน UnetLab โดยมันชื่อว่า “pnet0” ซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับ eth0 ของ UnetLab นั่นเอง

จากรูปด้านบนจะเห็นได้ว่าเมื่อนำ pnet มาวางบน Topology แล้วมันจะมีรูปร่างเป็นก้อนเมฆ (Cloud) เหมือนกับ Cloud ใน GNS3 เลยและหลักการทำงานก็ยังเป็นแบบเดียวกันอีกด้วย

โดยทั่วไปแล้วใน VMware workstation จะใช้ VMnet0 ในรูปแบบของ NAT โดยจะทำการแจก DHCP ออกมาให้กับอุปกรณ์ต่างๆแบบอัตโนมัติ สำหรับ NAT network ในเครื่องของผมจะใช้ IP Address 192.168.114.x/24 โดย UnetLab ของผมจะใช้ Static IP Address หมายเลข 192.168.114.10 ส่วน F5 จะใช้ IP Address 192.168.114.11

สำหรับขั้นตอน Step by step ก็ตามรูปครับไหนๆก็เลิกทำ Video แล้วเอาแบบละเอียดเลย หวังว่าคงจะไม่มีหมาแมวที่ไหนมาบ่นกระแนะกระแหนผมอีกนะครับ 😛

1. เริ่มสร้าง Lab ใหม่

2. ตั้งชื่อ Lab และใส่คำอธิบาย

3. นำอุปกรณ์มาวาง ในตัวอย่างนี้ผมใช้ F5 VE 11.3

4. ต่อมาก็คือตัวเอกของบทความนี้ครับ pnet0 โดยตัว pnet จะอยู่ที่ network

5. จากนั้นให้ทำ Connection ให้กับ F5 และ pnet

6. เสร็จแล้วก็ได้ตามรูปด้านล่างนี้ครับ

สำหรับการสร้าง Topology ก็จะหมดเพียงเท่านี้ครับ ต่อไปเป็นการตั้งค่าของ F5 ตามที่กำหนดไว้คือ IP Address 192.168.11.11 เพื่อที่จะให้ F5 อยู่ใน NAT network ของ VMware แบบเดียวกันกับ UnetLab เพื่อที่เราจะสามารถใช้ Web interface ต่อไปได้โดยออกจาก Edit mode ตามรูป

จากนั้นทำการ Start F5 VM

ทำการ Console เพื่อทำการตั้งค่าดังนี้

User login : root

password: default

Command : config

จากนั้นตั้งค่าตามที่กำหนดไว้

เมื่อทำการตั้งค่าถูกต้องแล้วเราจะต้อง Ping IP Address 192.168.114.11 ได้ตามรูปด้านล่างครับ

เรียบร้อยแล้วครับ จากนั้นก็ทำการเปิด Web browser เพื่อตามเข้าไป Configure ในหน้าเวบต่อได้แล้ว ^^

 

เป็นอันจบบทความในวันนี้ครับสำหรับท่านที่ต้องการให้มีการทำ Bridge interface หรือ pnet เพิ่มเติมอีกก็สามารถตามเข้าดูต่อได้ที่ www.unetlab.com ที่ link นี้ครับ http://www.unetlab.com/2014/11/using-cloud-devices/ ถ้าดูตามที่เวบจะสามารถเพิ่ม pnet ได้ถึง 10 interfaces เนื่องจากเป็น Limitation ของ VMware ที่ให้เพิ่มการ์ด LAN ได้แค่ 10 อัน ซึ่งเท่าที่ผมลองทำดูก็มามารถเพิ่ม pnet เข้ามาใช้งานได้ตามตัวอย่างไม่มีปัญหาอะไรครับ (ในรูปด้านบนสุดจะสังเกตุว่าผมมี pnet1 ด้วย)

 

 

 

แนะนำ UnetLab โลกใหม่ของการใช้งาน Network Emulator

หายไปพักใหญ่หลังจาก UCSPE ตอนที่ 2 วันนี้กระโดดข้ามหัวข้อ UCS ออกมาเป็นเรื่องใหม่ก่อนเพราะกำลังสนุกกับการสร้าง Lab ใน UnetLAB เลยอยากจะเอามาแชร์ให้ชาวบ้านดูบ้างว่ามันน่าสนใจแค่ไหน ^^

Unified Networking Lab (UnetLab) พัฒนาโดย Dainese Andrea เจ้าของเดียวกันกับ IOU-Web อันเลื่องชื่อ จากที่ได้ติดตามงานของเขาและเข้าไปอ่านดู Project UnetLab แล้วก็ต้องชื่นชมความตั้งใจของเขาเลยว่า UnetLab ที่เขาสร้างขึ้นจะดีกว่า GNS3 แน่นอน

หลังจากที่ได้ลองใช้งาน UnetLab แบบจริงจังมาประมาณ 2 อาทิตย์แล้วก็รู้สึกได้เลยว่าสิ่งที่เข้าทำนั้นไม่ได้เกินเลยไปจากความตั้งใจของเขาเลย เนื่องจาก UnetLab สามารถใช้ในการสร้าง Lab ได้อย่างยอดเยี่ยมมาก และมีส่วนที่เหนือว่า GNS3 ตามความคิดของตัวเองดังนี้

  • UnetLab ใช้งานผ่าน Web-UI ทำให้สามารถนำ VM ไป Run ในเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงๆและใช้แค่ Web browser เปิดเข้าไปใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งในเครื่อง Client
  • UnetLab รองรับการใช้งานอุปกรณ๊์หลากหลาย Platform จาก Web-UI เดียว คือ สามารถนำอุปกรณ์ที่มีทั้งหมดนำมาเชื่อมต่อกันได้ใน Project เดียวกัน (GNS3 ก็ทำได้แต่ความสะดวกจะน้อยกว่า ตามความรู้สึกส่วนตัว)
  • UnetLab สามารถใช้งาน Cisco IOU ได้ในตัวเองไม่ต้องพึงพา VM อีกตัวในกรณีที่ใช้งานบน Windows
  • ในตอนนี้ UnetLab (Beta version) รองรับอุปกรณ์ต่างได้ดังนี้
    • Cisco – IOS – 1700 Series
    • Cisco – IOS-XE
    • Cisco – IOS-XR (XRv)
    • Cisco – IOU/IOU (L2,L3)
    • Cisco – IOSv (L2, L3)
    • Cisco – ASA
    • Cisco – NX-OS
    • F5 – BigIP
    • Juniper – vSRX
    • Alcatel
    • Arista (vEOS)

สำหรับข้อเสียที่พบใน Beta version คือ

  • อุปกรณ์ที่รองรับยังน้อยอยู่ (ที่จริงแค่นี้ก็ไม่น้อยแล้ว) เช่น Cisco – IOS จะยังรองรับแค่ 1700 Series
  • FontEnd (Web-UI) กับ FrontEnd (CLI) ยังทำเผื่อเหลือเผื่อขาดอยู่เลยทำให้สับสน เช่น Cisco – IOS ที่ FrontEnd จะมีแค่ 1700 Series แต่ที่ BackEnd ผมสามารถใช้งานผ่าน CLI ได้จนถึงรุ่น 7200 – IOS 15.4 เลยทีเดียว (จริงๆจะนับเป็นข้อดีทีเขาทำเผื่อไว้ก็ได้นะ ^^”)
  • การเตรียมไฟล์ต้อนแบบเพื่อนำมาใช้งานยังมีความลำบากอยู่มาก (อันนี้เจอกับตัวเองเหงื่อตกเลยทีเดียว)

ที่จริงก็ยังคิดว่าข้อดีข้อเสียมันมีมากกว่านี้แต่ว่าผมนึกไม่ออกละ แต่ถ้าวัดกันด้วยความชอบส่วนตัวเมื่อเทียบกันระหว่าง UnetLab กับ GNS3 แล้วผมให้ UnetLab ชนะไปที่คะแนน 8/6 เลยทีเดียวเนื่องจาก GNS3 version ใหม่ๆนั้นการใช้งานก็ยิ่งยากเข้าไปทุกที และจากที่นำไปให้เพื่อนๆในกลุ่มลองใช้งานทุกคนก็จะบอกเป็นเสียงเดียวกันหมดว่า “เจ๋ง” กันหมดทุกคนเลยทีเดียว โดยส่วนตัวเองก็คิดแบบเดียวกัน

ฝอยมาหลายบรรทัดแล้วมาเข้าเรื่องกันในรูปแบบการแนะนำการใช้งาน UnetLab ดีกว่าเมื่อทำการ Import OVA ไฟล์ที่ได Download มาเรียบร้อยและทำการตั้งค่าเบื้อต้นตามที่ UnetLab แนะนำแล้วจะสามารถเข้าไปที่หน้า Web ของ UnetLab ได้ตามรูปครับ

ขั้นตอนที่ต้องทำก่อนการใช้งาน UnetLab สำหรับผมเองจะมีขั้นตอนตามนี้ครับ

  • # apt-get install nano -> ติดตั้ง Editor nano เพราะผมไม่ถนัด VI ครับ ^^”
  • # apt-get install htop -> ติดตั้ง htop เพื่อใช้ดูการใช้งาน Resource ของ VM ที่ใช้งานอยู่ครับสำหรับ htop จะมีหน้าตาแบบนี้ครับ

ก่อนที่จะทำการสร้าง Lab ให้ทำการเตรียมไฟล์ที่ต้องการให้พร้อมก่อนครับ สำหรับขั้นตอนรายละเอียดของไฟล์อุปกรณ์แบบต่างๆสามมารถดูได้จาก UnetLab ครับ ส่วนไฟล์ที่ต้องการสามารถใช้ Login account ของแต่ละ Product เข้าไปโหลดได้ครับ

ขั้นตอนต่อมาเมื่อเตรียมไฟล์ของอุปกรณ์ที่ต้องการใช้เสร็จแล้วก็ให้เข้าไปที่ Menu Lab -> Action -> Add new lab ตามรูปครับ

จะมี Dialog box ขึ้นมาให้ทำการตั้งชื่อและรายละเอียดต่างๆ ผมจะทำการตั้งค่าดังนี้ครับ

เมื่อตั้งชื่อ Lab และใส่ค่าต่างๆแล้วจะเข้ามาอยู่ที่ Lab ที่สร้างไว้ใน Edit mode เพื่อให้ทำการเพิ่มอุปรณ์ที่ต้องการใช้งานและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ

ต่อไปให้ทำการเลือกไปที่ Menu Actions เพื่อนำอุปกรณ์ที่ต้องการลงมาใช้งานที่ Lab โดยอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้จะต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์เข้ามาก่อนการใช้งาน Lab สำหรับอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถใช้งานได้ก็จะมีตามรูปนี้

กรณีที่ต้องการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เข้าด้วยกันให้ใช้ Object Networks ที่เมนู Actions นี้ในการเชื่อมต่อกันครับ ต่อมาผมจะลองเลือก Cisco IOL (IOU) ออกมาและทำการเชื่อมต่อให้ดูโดยมีขั้นตอนตามในรูปด้านล่าง

เมื่อทำการวางอุปกรณ์และเชื่อมต่อเสร็จแล้วก็ให้ทำการออกจาก Editor mode โดยการกดไปที่ Menu Actions -> Open this lab เพื่อกลับเข้าไปที่ Emulator mode เพื่อทำการ Start อุปกรณ์ขึ้นมาทำ Lab ต่อไป

 

เมื่อกลับเข้ามาที่ Emulator mode แล้วให้ทำการคลิกขวาที่ตัวอุปกรณ์แล้วกดสัญลักษณ์รูป Play เพื่อทำการ Start หรือเปิด อุปกรณ์ขึ้นมาใช้งาน เพื่ออุปกรณ์เปิดขึ้นมาพร้อมใช้งานแล้วเราก็สามารถเอาเมาส์ไปดับเบิ้ลคลิกที่ตัวอุปกรณ์เพื่อ Console เข้าไปทำการ Configure ได้ทันทีครับ

จบแล้วสำหรับการแนะนำ UnetLab หวังว่าถ้าจะมีท่านอื่นสนใจไปหามาลองเอาไว้ทำ Lab ติด Notebook กันบ้างนะครับ ^^

ปล.

  • ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้าง UnetLab นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น กรณีที่ท่านต้องการใช้งาน UnetLab สามารถเข้าไปตาม Web site ด้านล่างเพื่อหาข้อมูลเพื่อ Download
  • Software ทั้งหมดที่แสดงในบทความเป็น Software ที่มีลิขสิทธ์ ไม่สามารถแจกจ่ายให้ได้ ไม่ว่ากรณ๊ใดๆทั้งสิ้น
  • ท่านที่ต้องการใช้งานจะต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองผมไม่ได้มีความรับผิดชอบใดๆในการใช้งานของท่านและไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับตัวท่านเอง

Web site: http://www.unetlab.com/

Download : http://www.unetlab.com/download/

ลองใช้งาน UCS Platform Emulator ตอนที่ 2

 

ต้อนรับวันหยุด วันรัฐธรรมนูญ ด้วย UCSPE ตอนที่ 2 พร้อมไฟล์ Video เงียบๆด้านล่าง เชิญทัศนาครับ ^^”

 

ตอนนี้จะเป็นการใช้งาน UCS Platform Emulator (UCSPE) โดยการ Import เข้าไปที่ VMware Player เพื่อลองใช้งานกันครับ

ก่อนอื่นก็ต้องมาเช็คดูก่อนว่าเครื่องเราสามารถนำ UCSPE มาใช้ได้หรือเปล่าโดยเช็คจาก Release Note ครับจะบอก Requirement ไว้แบบนี้

• 2 GB free RAM
• 8 GB disk space
• 1.8-GHz single CPU
• A Mozilla-compatible browser (Firefox or Google Chrome)
• Java Runtime Environment 1.6 or later.

ถ้าได้ตามข้อกำหนดทุกอย่างแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการ Import เข้ามาใช้งานกันได้เลยโดยเปิด VMware Player และทำการเลือกไฟล์ OVA ที่ Download มา

 

 

เสร็จแล้วจะได้ตามในรูปแบบนี้ครับ

 

 

จากนั้นให้เข้าไปทำการเช็ค Vmnet กันก่อนว่าเราจะให้เจ้า UCSPE ไปอยู่ Network ไหนใน VMware ของเราตอนนี้ก็ใช้เป็น NAT ตาม Default ที่ได้ไปก่อนครับ

ถ้าต้องการแก้ไขก็เข้ามาทำทีหลังก็ได้ โดยปกติ UCSPE จะรับ IP มาแบบ DHCP กรณีนี้เราใช้ VMware Player และใช้ Network Adapter เป็น NAT ดังนั้นในกรณีนี้จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ในกรณีที่ใช้ Network Adapter แบบอื่นๆที่ไม่มีการแจก DHCP ออกมาก็ต้องทำการกำหนด IP Address แบบ Static เอาเองอีกครั้งด้วย

 

 

 

เสร็จแล้วก็ Power On อย่าได้ช้า

 

 

รอให้ UCSPE Unpack และติดตั้งจนเสร็จ

 

 

เมื่อ Boot และแตกไฟล์ UCSPE เสร็จแล้วที่หน้า Console จะแสดงข้อมมูล IP Address ที่ได้รับจาก DHCP Server และ User ที่ใช้สำหรับการใช้งานแบ่งเป็น

  • config   ใช้งานผ่าน Console สำหรับการคอนฟิก UCSPE
  • cliuser  ใช้งานผ่าน Console และ SSH สำหรับ UCS cli client

 

 

ขั้นตอนสุดท้ายสำหรับตอนนี้ที่ 2 คือ ทดลองเข้าไปที่ UCSPE ผ่านหน้า Webpage ตาม IP Address ที่แสดงอยู่ใน Console เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะสามารถเข้ามาจัดการ UCSPE ต่อได้ในตอนที่ 3

 

 

ดูขั้นตอนในแบบ Video ประมาณ 6 นาที่ด้านล่างนี้ครับ

 

 

จบแล้วสำหรับตอนที่สองนี้ ตอนที่ 3 เราจะมาเริ่มการคอนฟิก UCSPE เบื้องต้นกันครับ

ลองใช้งาน UCS Platform Emulator ตอนที่ 1

วันนี้เปลี่ยนจาก Video มาเป็น Blog กันบ้างครับ

 

เริ่มต้นกันด้วย Series UCS Emulator

โดยในตอนที่ 1 จะเป็นการแนะนำ UCS Platform Emulator และการหา Emulator นี้มาใช้งานกัน

ก่อนอื่นจะต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกของเวบ cisco.com กันก่อน และเนื่องจาก UCS Platform Emulator นี้ทาง Cisco ได้มีการให้ Download ได้โดยไม่ต้องใช้สิทธิของ Partner ดังนั้นทุกคนสามารถเข้าไป Download มาใช้กันได้โดยไม่มีปัญหา

ให้เข้าไปที่ https://sso.cisco.com/autho/forms/CDClogin.html และทำการ Login ให้เรียบร้อย

จากนั้นทำการค้นหา Page ของ UCS Platform Emulator จากในเวบของ Cisco ได้เลย หรือจะเข้าไปที่ https://communities.cisco.com/docs/DOC-53980 โดยตรงก็ได้ ปัจจุบัน UCS Platform Emulator จะเป็น Release 3.0(1cPE1)

โดยในหน้าของ Cisco community จะแสดงข้อมูลของ Feature ที่ Emulator ตัวนี้รองรับ เช่น

  • Fabric Interconnect IOM: UCS-FI-M-6324
  • Chassis: UCSB-5108-AC2 and UCSB-5108-DC2

และข้อจำกัดของ Emulator ตัวนี้ เช่น

  • Cisco UCS Platform Emulator, Release 3.0(1cPE1) has the following limitations:
  • In the UCSM component topology, the link between the rack server and FI is shown as down.
  • While importing with the ‘Live Import’ feature, adapters other than Lexington do not get imported.
  • Firmware version of components in UCSPE is not visible on the Cisco UCS Central.

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความสามารถที่ตัว Emulator ให้มาก็เพียงพอที่เราจะเอามาลองใช้งานเพื่อเรียนรู้แล้ว

สำหรับไฟล์ที่ Cisco เตรียมไว้ให้ Download นั้นจะมีมาพร้อมทั้ง User guide, Release Note และตัว Emulator ในแบบ Zip หรือ OVA อันนี้ก็เลือกมาใช้ตามความต้องการของแต่ละคนครับ สำหรับผมจะเลือกไฟล์แบบ OVA มาเพื่อลองใช้งาน สำหรับไฟล์ OVA ที่ผม Download มาจะมีขนาด 468MB ตามรูปด้านล่างนี้

จากการทดลอง Import ไปใช้งานดูพบว่า VMware workstation ก็สามารถ Import OVA ไปใช้งานได้เป็นปกติไม่มีปัญหาอะไร ทำให้สะดวกในการทดลองในเครื่อง Notebook มากทีเดียว

 

ตอนต่อไปจะเป็นการทดลอง Import และการตั้งค่า UCS Platform Emulator เบื้องต้น รอติดตามกันนะคร้าบ จะพยายามทำเป็น Video ให้ดูกันเหมือนเดิม