Network engineer หลายๆท่านน่าจะเคยประสบปัญหาต่างๆดังนี้มาก่อน
- ต้องการฝึก Configure อุปกรณ์ให้เชี่ยวชาญเพื่อนำไปสอบ Certification ในระดับสูง เช่น Cisco CCNP, CCNP แต่ในบริษัทไม่มีอุปกรณ์ให้ใช้ฝึกฝน
- ต้องออกไปติดตั้งอุปกรณ์ให้ลูกค้าแค่ยังไม่เคยใช้งานอุปกรณ์นั้นๆมาก่อน
- ต้องออกแบบระบบให้กับลูกค้าแต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คิดไว้จะสามารถทำงานได้ตาม Concept ที่คิดไว้หรือเปล่า
- ต้องการออกแบบ Solution เพื่อนำไปเสนอให้กับลูกค้า
- ต้องการจำลองระบบเพื่อทำ POC ให้กับลูกค้าแต่อุปกรณ์ที่มีไม่เพียงพอ
- ต้องการจำลองระบบของลูกค้าเพื่อนำมาทดสอบการก่อน Implement เพื่อให้แน่ใจว่า Design ที่ออกแบบไว้สามารถทำงานเข้ากับระบบเดิมได้ก่อนติดตั้ง
ปัญหาหาที่เกิดขึ้นนี้อาจจะแก้ได้หลาก เช่น การเช่า Rack ต่างจากประเทศเพื่อใช้ทดลอง Lab หรือซื้ออุปกรณ์จริงมาลองใช้งาน แต่สิ่งที่จะกระทบต่อการแก้ปัญหาเหล่านี้คือ “การลงทุน” ซึ่งอาจจะไม่คุ้มกับการลงทุนก็ได้ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ต้องการมีราคาสูงเกินไป หรือบริษัทไม่มีนโยบายสนับสนุนตัวอย่างคือ บริษัทขายอุปกรณ์ยี่ห้อ “J” แต่งานติดตั้งจะต้องนำไปใช้งานกับอุกรณ์ “C”
ทางออกสำหรับ Network engineer หลายๆท่านก็จะหันไปใช้งาน Emulator อย่าง GNS3 นำมาจำลองระบบเพื่อจำลองให้มีการทำงานใกล้เคียงกับระบบที่เราจะต้องไปทำงานด้วย การใช้งานก็สะดวกสบายเพราะมี GNS3 appliance ที่สามารถโหลดมาใช้งานได้อย่างง่ายดาย ซึ่งก็จะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในการทำงานได้ส่วนหนึ่ง
แต่จะดีกว่าไหมถ้ามี Emulator ตัวอื่นที่สามารถทำงานได้ในฟังก์ชั่นที่ทำงานได้เหมือนกันและดีกว่า นั่นคือการใช้งาน UnetLab แทนการใช้งาน GNS3 เพียงอย่างเดียว โดยการใช้งาน UnetLab จะมีข้อดีที่เหนือกว่า GNS3 ในบางส่วนดังนี้
เมื่อเทียบกับ GNS3
- การใช้งาน UnetLab จะใช้ VM เพียงตัวเดียวไม่ต้องทำการลงโปรแกรมเพิ่มเติมเหมือน GNS3 ซึ่งต้องจะต้องมีทั้ง Local server และ Remote server (VirtualBox หรือ VMware) ในกรณีที่ต้องการใช้งานอุปกรณ์ใหม่ๆ เช่น F5 Big IP
- GNS3 ยังไม่สามารถควบคุมการทำงานของ VirtualBox และ VMware ได้ 100% จึงยังพบปัญหาในการใช้งาน เช่น การปิด VM โดยใช้ GNS3 จะทำให้ VirtualBox VM Crash ได้
จุดเด่นของ UnetLab
- ใช้ VM guest เพียงตัวเดียวในการใช้งานไม่ต้องมี Local หรือ Remote server
- ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเนื่องจาก UnetLab ใช้งานบน Web browser ได้ทันที
- ทำการควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ในการกดลองได้อย่างสมบูรณ์ในตัวเอง
- รองรับอุปกรณ์ได้หลากหลาย สามารถเช็ครายการของอุปกรณ์ที่รองรับได้ ที่นี่
- สามารถ Update version ได้ทันทีไม่ต้อง Uninstall โปรแกรม
ทำไมต้องมาเรียน UnetLab กับเรา
- เราคอยแจ้ง ร่วมหาและทดสอบ Bug กับทีมงานของ UnetLab อยู่เสมอ
- เราอ่าน Script โฟลวการทำงานของ UnetLab และทดสอบการใช้งาน Image ของอุปกรณ์ด้วยเราเอง
- เราเข้าใจการทำงานของ Backend ที่ UnetLab นำมาใช้งานทั้ง 3 แบบคือ Dynamips IOL และ QEMU
- เข้าใจโครงสร้างของ UnetLab ที่อยู่ภายใต้ OS Ubuntu โดยจะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างและการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ใน Lab ได้ที่ระดับ OS เพื่อให้สามารถเข้าใจการทำงานและแก้ปัญหาได้
- สามารถสาธิตและแนะนำการสร้าง Image ที่ UnetLab ไม่รองรับ ให้นำมาใช้งานเองได้ เช่น PFsense, KALI linux หรือ อุปกรณ์อื่นๆที่ผู้เรียนสนใจและ Backend รองรับการทำงาน
- เรานำ UnetLab มาใช้งานจริงทั้งในการเตรียมสอบ Certified และ Test solution ของลูกค้า
- เราจะให้ลองใช้งาน UnetLab แทบทุก Feature ที่น่าสนใจ เช่น
- ใช้งาน Multi user login (เหมาะกับการสร้าง Lab เพื่อการ Training หรือใช้สร้าง LAB ใน Training center)
- นำ Icon ที่สร้างเองมาใช้งานใน UnetLab
- Clickable diagram เป็นการนำ Diagram ที่สร้างโดย Visio หรือไฟล์รูป/Diagram มาใช้งานใน UnetLab โดยจะมีลักษณะเหมือนกับที่มีการใช้งานในศูนย์ Training
จากตัวอย่างแนะนำมาข้างต้นผู้ที่สนใจ Workshop สามารถสมัครเรียน Workshop ได้ครับ
ค่าใช้จ่ายในการเรียน 2,000 บาท (1 วัน)
สิ่งที่จะได้รับในการเรียน: UnetLab VM พร้อมใช้งานที่มี Free image นำกลับไปใช้งานต่อได้ทันที
กรณีที่มีความสนใจ Workshop นี้สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Email: info@virtualnetsystems.com
สำหรับคนที่ทำงานในสาย Network ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตามแต่ ตั้งแต่ในหอพัก โรงเรียน บริษัทเล็กๆ หรือบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ สิ่งที่จะต้องเคยเจอและได้ยินน่าจะเป็นประโยคสุดคลาสสิคนี้ “Network มีปัญหาอะไร ทำไมใช้งานไม่ได้” หรือ “ทำไม Internet ช้าจังสงสัย Network มีปัญหาแน่ๆเลย” ทั้งสองประโยคนี้อาจจะเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ

แต่จะดีกว่าไหมที่เราสามารถหาสาเหตุที่แท้จริงและนำไปปรับปรุงหรือแก้ไขระบบ Network หรือพฤติกรรมการใช้งานที่มีผลกระทบต่อภาพรวมของการใช้งานระบบ Network ได้อย่างชัดเจน ตรงจุด และ “สามารถสื่อสารให้คนที่ไม่เข้าใจระบบ Network ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วยการใช้กราฟ” เช่น หัวหน้า, ผู้บริหาร หรืออธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมที่มีการเขียนใช้งานเองในบริษัทให้โปรแกรมเมอร์เข้าใจได้ หรือจะเป็นการปรับปรุงค่า Configuration ในระบบ Infrastructure ภายในบริษัทเองให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อทำให้การใช้งานระบบ Network มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยไม่มีการทิ้งคำถามมาที่คนทำระบบ Network เพียงคนเดียว
Wireshark for network troubleshooting เป็นหัวข้อ Workshop ที่คิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนที่เป็นผู้ดูและระบบ Network ให้มีความเข้าใจในการทำงานของพื้นฐานการทำงานของระบบ Network โดยใช้รูปแบบการทำงานของ Protocol TCP มาอธิบายให้เห็นว่าในระหว่างการทำงานในระบบ Network ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นกับส่วนใดในการสื่อสารแบบ TCP จะมีปัญหาอย่างไรเกิดขึ้น และจะนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะต่างๆต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรม
Workshop จะเน้นให้ลงมือทำโดยเนื้อหาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญคือ
ส่วนที่ 1
เริ่มต้นด้วยการปูพื้นให้ทุกคนเห็นภาพการทำงานของ Reference model แบบต่างๆและรูปแบบการนำไปใช้งานเมื่อใช้งานร่วมกับ Wireshark สำหรับ Lab จะเป็นการทดลองที่เน้นการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานกับ Wireshark ในรูปแบบต่างๆ

- เริ่มต้นด้วยการพิจารณา OSI, TCP model และเปรียบเทียบกับการแสดงผลของ Wireshark
- ตัวอย่างการทำงานของ Protocol TCP เพื่อใช้ในการอ้างอิงเมื่อเกิดปัญหาค่างๆ
- การทำงานของ Protocol ARP
- การเก็บข้อมูลในลักษณะต่างๆเพื่อนำมาเป็นข้อมูล Input ให้กับ Wireshark เช่น TCPdump, Remote capture
ส่วนที่ 2
เริ่มลงมือใช้งาน Wireshark เพื่อให้เห็นการทำงานของ Protocol ต่างๆแบบชัดเจน เช่น การเปิดการสื่อสารด้วย Packet SYN และวิเคราะห์การทำงานของระบบ Network โดยรวมได้แบบง่ายๆและรวดเร็ว ในส่วนนี้ทุกคนจะบอกได้อย่างเต็มปากว่า “ระบบ Network ไม่มีปัญหา” ระบบทำงานได้เร็วปกติ” โดยมีหลักฐานที่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน
- เมนูใช้งานของโปรแกรม Wireshark, Coloring rules
- รูปแบบ Input แบบต่างๆเพื่อใช้เป็น Filter string ของ Wireshark เพื่อใช้ในการกรองข้อมูลที่ต้องการนำมาวิเคราะห์ด้วย Wireshark ต่อไป
- การใช้งาน Follow TCP stream
- การใช้งาน TCP stream graph เพื่อพิจารณาและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นใน Network

ส่วนที่ 3
ส่วนสุดท้ายของ Workshop เน้นการใช้งานเพื่อนำไปวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยสามารถหา Packet ที่คาดว่าจะเป็นต้นเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ “การหาจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์ปัญหาอย่าง Network ช้า” โดยการพิจารณา Packet ที่สนใจได้อย่างรวดเร็ว และปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์การทำงาน Application ที่มีปัญหาด้วยคนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำงานต่อไป
- การสร้าง Profile และการเพิ่ม Column เพื่อให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ปัญหาในแบบต่างๆ
- การ Export HTTP object
- การใช้งาน IO graph
- การใช้งาน Expert info
- วิเคราะห์การทำงานที่ผิดปกติของ Application



Workshop ทั้ง 3 ส่วนจะใช้เวลาทั้งหมด 2 วันเพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจการนำโปรแกรม Wireshark ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาทั้งหมดได้ผ่านกระบวนการคิดทดสอบและลงมือทำผ่านโปรแกรมอย่าง EVE-NG จากผู้สอนก่อนที่จะลงมือทำเอกสารทุกขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนจะสามารถกลับไปทำการทดลองซ้ำต่อที่บ้านหรือบริษัทต่อไปได้ ทำให้มีความสะดวกในการทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนผ่านไป โดยสามารถทำการทดลองซ้ำตามเอกสารเพื่อให้เกิดความชำนาญจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างสะดวกตามความต้องการต่อไป

สำหรับเนื้อหาการใช้งานโปรแกรม Wireshark ที่ผู้สอนได้มีการเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจได้ทำการอ่านและศึกษาได้ฟรีมีตามหัวข้อดังต่อไปนี้
- ใช้ Wireshark เพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติในการทำงานของ Application
- การนำค่า Delay ที่เกิดขึ้นในระบบ Network มาแสดงผลเป็นกราฟ
- ร่วมร่างไฟล์ให้กลับมาจากแพ็คเก็ตที่ได้จาก Wireshark ^^
- TCP zerowindow กับปัญหาที่เกิดขึ้นใน network
- การหาค่า TCP Delay และนำมาแสดงบน Column ใน WireShark
จากตัวอย่างบทความที่แนะนำมาข้างต้นผู้ที่สนใจ Workshop สามารถใช้อ่านและพิจารณาเนื้อหาเบื้อต้นก่อนสมัครเรียน Workshop ได้ทันทีครับ
ค่าใช้จ่ายในการเรียน 5,000 บาท
สิ่งที่จะได้รับในการเรียน
- เอกสารประกอบการเรียนที่มีเนื้อหาและขั้นตอนเป็นภาษาไทยในรูปแบบ PDF
- ตัวอย่าง Packet file ประกอบการทดลองต่างๆ
- เอกสารอ้างอิงประกอบการสอน
- โปรแกรมที่เกี่ยวข้องในการทำ Workshop
- VM Image file สำหรับประกอบการทำ Lab เพื่อให้สามารถทำการทดลองและนำไปใช้ทบทวนที่บ้านได้
หมายเหตุุ: เนื่องจากมีการใช้งาน EVE-NG ในการทดลอง ดังนั้นผู้เรียนจึงควรมี Notebook ที่มี Spec ขั้นต่ำดังนี้ เพื่อให้การทดลองได้ประโยชน์สูงสุด
1. CPU Intel core i3
2. Free space on HDD 80G (SSD for best performance)
3. RAM 8G
ระยะเวลาในการอบรม : จะแจ้งให้ทราบผ่านหน้าเพจอีกครั้ง
จำนวนผู้เข้าอบรม : สูงสุด 12 ท่าน
ค่าอบรม : ท่านละ 5,000 บาท
สถานที่อบรม : Comscicafe ติดสถานีรถไฟฟ้า BTS แบริ่ง (มีที่จอดรถให้ผู้เข้าอบรมทุกท่าน)
แผนที่ของ ComSci cafe ใน Google maps คลิกดู ที่นี่
กรณีที่มีความสนใจ Workshop นี้สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Email: info@virtualnetsystems.com หรือ Dowload รายละเอียดเพื่อนำเสนอหน่วยงานได้ ที่นี่
ความเห็นล่าสุด